Page 156 - กฎหมายและระเบียบงานด้านการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
P. 156
แนวปฏิบัติในการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษแทนผู้เสียหายในคดีอาญา
โดยที่เป็นการสมควรก าหนดแนวปฏิบัติในการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษแทนผู้เสียหายในคดีอาญา
เพื่อรองรับภารกิจของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตามมาตรา ๓๗ ของพระราชบัญญัติ
ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ ที่บัญญัติให้
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีอ านาจร้องทุกข์หรือกล่าวโทษแทนผู้เสียหายในคดีอาญา ในกรณี
ที่การละเมิดสิทธิมนุษยชนเรื่องใดเป็นความผิดอาญาและผู้เสียหายไม่อยู่ในฐานะที่จะร้องทุกข์หรือ
กล่าวโทษด้วยตนเองได้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในคราวประชุมด้านบริหาร ครั้งที่
๓๔/๒๕๖๑ เมื่อวันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ จึงมีมติให้ก าหนดแนวปฏิบัติเพื่อเป็นกรอบในการด าเนินการ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและส านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ดังนี้
ข้อ ๑ ในแนวปฏิบัตินี้
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
“ส านักงาน” หมายความว่า ส านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
“เจ้าหน้าที่ส านักงาน” หมายความว่า ข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างของส านักงาน
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
“เจ้าหน้าที่รับเรื่องร้องเรียน” หมายความว่า เจ้าหน้าที่รับเรื่องร้องเรียนตามระเบียบคณะกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน
“พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบค าร้อง” หมายความว่า พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบค าร้อง
ตามระเบียบคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการตรวจสอบการ
ละเมิดสิทธิมนุษยชน
“ผู้เสียหาย” หมายความว่า บุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระท าผิดทางอาญา
ฐานใดฐานหนึ่ง
ข้อ ๒ ภายใต้อายุความคดีอาญา ในกรณีที่การละเมิดสิทธิมนุษยชนเรื่องใดเป็นความผิดอาญา
และผู้เสียหายไม่อยู่ในฐานะที่จะร้องทุกข์หรือกล่าวโทษด้วยตนเองได้ หากคณะกรรมการพิจารณาแล้ว
เห็นสมควรร้องทุกข์หรือกล่าวโทษแทนผู้เสียหาย ให้มอบอ านาจเป็นหนังสือให้เจ้าหน้าที่ส านักงาน
เป็นผู้ยื่นค าร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน ตามหลักเกณฑ์ที่ก าหนดไว้ในแนวปฏิบัตินี้
กรณีผู้เสียหายไม่อยู่ในฐานะที่จะร้องทุกข์หรือกล่าวโทษด้วยตนเองได้ตามวรรคหนึ่ง
ให้หมายความรวมถึงกรณีผู้เสียหายอาจได้รับภยันตรายอย่างร้ายแรงแก่ชีวิตหรือร่างกายหากด าเนินการ
ร้องทุกข์หรือกล่าวโทษด้วยตนเอง
ข้อ ๓ ในกรณีที่มีผู้ยื่นค าขอให้คณะกรรมการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษแทนผู้เสียหายก่อนที่การ
ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนจะด าเนินการแล้วเสร็จ ให้เจ้าหน้าที่รับเรื่องร้องเรียนหรือพนักงาน
เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบค าร้อง แล้วแต่กรณี ตรวจค าขอและข้อเท็จจริงเบื้องต้น แล้วท าความเห็นเสนอ
คณะกรรมการเพื่อพิจารณาว่าสมควรด าเนินการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษแทนผู้เสียหายหรือไม่ต่อไป
ในกรณีที่ค าขอตามวรรคหนึ่ง ยื่นภายหลังจากที่คณะกรรมการตรวจสอบการละเมิด
สิทธิมนุษยชนเสร็จสิ้นแล้ว ให้ส านักงานเป็นผู้ตรวจค าขอและข้อเท็จจริงเบื้องต้น แล้วท าความเห็น
เสนอคณะกรรมการพิจารณา
ในกรณีที่มีผู้ยื่นค าขอให้คณะกรรมการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษแทนผู้เสียหายโดยมิได้ร้องขอให้
ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ให้น าความในวรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม
150