Page 132 - กฎหมายและระเบียบงานด้านการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
P. 132
๒
(๓) ข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างของสำนักงาน
(๔) บุคคลหรือคณะบุคคลซึ่งมิใช่ข้าราชการ พนักงานราชการ หรือลูกจ้างของสำนักงานที่ได้รับ
มอบหมายหรือแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติหรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๕) บุคคลตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) ซึ่งพ้นจากตำแหน่งหรือหน้าที่ไปแล้ว
ข้อ ๖ บุคคลตามข้อ ๕ จะมีสิทธิขอรับความช่วยเหลือจากสำนักงาน ในกรณีดังต่อไปนี้
(๑) ถูกดำเนินคดีอันเป็นผลมาจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือสืบเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่
ราชการตามกฎหมาย
(๒) ไปเป็นพยานอันเป็นผลมาจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือสืบเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่
ราชการตามกฎหมาย
การขอรับความช่วยเหลือตามวรรคหนึ่ง ให้ขอรับความช่วยเหลือได้ทั้งในคดีแพ่ง คดีอาญา
คดีปกครอง และคดีอื่น ๆ และตั้งแต่ชั้นที่ถูกตรวจสอบหรือไต่สวนโดยองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
หน่วยงานที่มีหน้าที่และอำนาจตามกฎหมาย พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ และศาล
กรณีตาม (๑) จะได้รับความช่วยเหลือต่อเมื่อคณะกรรมการ เลขาธิการ หรือสำนักงานมิได้เป็น
ผู้ดำเนินคดีนั้นเอง
ข้อ ๗ บุคคลตามข้อ ๕ จะได้รับความช่วยเหลือต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากบุคคล ดังต่อไปนี้
(๑) เลขาธิการเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ กรณีตามข้อ ๖ (๑)
(๒) เลขาธิการหรือผู้ที่เลขาธิการมอบหมายเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ กรณีตามข้อ ๖ (๒)
กรณีเลขาธิการเป็นบุคคลที่มีสิทธิได้รับความช่วยเหลือให้เสนอคณะกรรมการพิจารณาให้ความ
เห็นชอบ
ข้อ ๘ เมื่อได้รับอนุมัติหรือความเห็นชอบตามข้อ ๗ แล้ว ให้บุคคลนั้นได้รับความช่วยเหลือ
จนกว่าคดีจะถึงที่สุด
ข้อ ๙ ค่าใช้จ่ายในการถูกดำเนินคดีและค่าใช้จ่ายในการเป็นพยาน ให้จ่ายจากเงินงบประมาณ
ของสำนักงานเท่าที่จ่ายจริง
ข้อ ๑๐ กรณีที่บุคคลที่ได้รับความช่วยเหลือ ได้รับความช่วยเหลือตามกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ
หรือระเบียบอื่นแล้ว ไม่มีสิทธิได้รับความช่วยเหลือในลักษณะเดียวกันตามระเบียบนี้อีก
126