Page 42 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
P. 42

35


               จำนวน 2 คน หรือถ้ามีหลักฐานการตรวจสารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอซึ่งพิสูจน์ว่าผู้ขอเป็นญาติร่วมสายโลหิตกับ

               ผู้มีสัญชาติไทยให้ยื่นมาพร้อมกับคำขอด้วย

                       4. หลักฐานรับรองคุณสมบัติผู้ขอเกี่ยวกับความจงรักภักดีในสถาบัน ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์

               ความยึดมั่นในขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมไทย และความประพฤติดี เช่น หนังสือรับรองหรือ

               หลักฐานรับรองการศึกษาประกาศนียบัตรหรือเกียรติคุณที่ออกโดยส่วนราชการ หนังสือรับรองซึ่งออกให้โดย

               หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรเอกชนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ

               หน่วยงานของรัฐ หรือสถาบันการศึกษาที่ตั้งอยู่หรือปฏิบัติงานในท้องที่ที่ผู้ขอมีภูมิลำเนาอยู่

                       5. หนังสือรับรองว่าตนเองมิได้ถือสัญชาติของประเทศอื่น โดยมีบุคคลที่น่าเชื่อถือซึ่งมีสัญชาติไทย

               จำนวน 2 คนรับรอง ทั้งนี้ ผู้ขอมีสิทธิอ้างวัตถุพยานแวดล้อม หรือหนังสือรับรองของสถาบันหรือองค์กร

               วิชาการทางด้านกฎหมายสัญชาติ สถานะบุคคล สังคมวิทยา มานุษยวิทยา หรือชาติพันธุ์ ที่ได้รับการรับรอง

               จากหน่างานของรัฐ เพื่อเป็นหลักฐานพิสูจน์ความเป็นคนไทยพลัดถิ่นก็ได้ ส่วนในกรณีผู้ขอเป็นบุคคลที่ยังไม่

               บรรลุนิติภาวะหรือเป็นคนไร้ความสามารถ ให้บิดาหรือมารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม ผู้อนุบาล หรือผู้ปกครอง

               ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็ก เป็นผู้ขึ้นคำขอแทนได้

                       วิธีการดำเนินการของหน่วยงานในขั้นตอนการพิสูจน์ความเป็นคนไทยพลัดถิ่น

                       - ขั้นตอนหลักในการปฏิบัติงานด้านสัญชาติของคนไทยพลัดถิ่น แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนได้แก่

                       1. ขั้นตอนการยื่นคำร้อง โดยยื่นเป็นคำขอพิสูจน์ความเป็นคนไทยพลัดถิ่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

                       2. ขั้นตอนเจ้าหน้าที่รับคำขอ ตรวจสอบ สรุปผลการสอบสวนพยานบุคคล ส่งต่อไปยังคณะกรรมการ

               รับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่นพิจารณา

                       -  สถานที่ในการยื่นคำขอเพื่อพิสูจน์ความเป็นคนไทยพลัดถิ่น

                       1. ถ้าผู้ขอมีชื่อในทะเบียนบ้านหรือทะเบียนประวัติในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำขอต่อผู้อำนวยการ

               สำนักบริหารการทะเบียน ณ ที่ทำการสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง

                       2. ถ้าผู้ขอมีชื่อในทะเบียนบ้านหรือทะเบียนประวัติในจังหวัดอื่น ให้ยื่นคำขอต่อนายอำเภอหรือ

               ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ ณ ที่ว่าการอำเภอหรือที่ว่าการกิ่งอำเภอแห่งท้องถิ่นที่ที่ผู้ขอมีชื่อใน

               ทะเบียนบ้านหรือทะเบียนประวัติ

                       ขั้นตอนการตรวจรับคำขอ

                       1. ขั้นตอนในชั้นพนักงานเจ้าหน้าที่

                       เมื่อคำขอและหลักฐานประกอบนั้นถูกต้อง ครบถ้วน และเพียงพอต่อการพิสูจน์ความเป็นคนไทยพลัด

               ถิ่น พนักงานเจ้าหน้าที่จะได้ดำเนินการส่งคำขอต่ออธิบดีกรมการปกครองหรือผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อ

               ตรวจสอบและพิจารณาความถูกต้องต่อไป
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47