Page 6 - คู่มือการจัดการเรียนรู้สิทธิมนุษยชนศึกษา : ระดับปฐมวัย
P. 6
คู่มือการจัดการเรียนรู้สิทธิมนุษยชนศึกษา • ระดับปฐมวัย
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยสำานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจึงได้จัดทำาบันทึก
ข้อตกลงความร่วมมือการส่งเสริมด้านสิทธิมนุษยชนกับกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อร่วมกันพัฒนาคู่มือ
การจัดการเรียนรู้สิทธิมนุษยชนศึกษา เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
จากความมุ่งหมายดังกล่าว ทำาให้เกิดการร่วมมือกันของภาคีเครือข่ายอันประกอบด้วย คณะทำางาน
ด้านส่งเสริมการเคารพสิทธิมนุษยชน ผู้ชำานาญการตลอดทั้งผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิทธิมนุษยชนศึกษา
ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน คณะครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาจากกระทรวงศึกษาธิการ
อาจารย์จากสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล และบุคลากรจาก มูลนิธิฟรีดริช
เนามัน ประเทศไทย ร่วมกันดำาเนินการจัดทำาคู่มือการจัดการเรียนรู้สิทธิมนุษยชนศึกษา ได้ใช้เป็นแนวทาง
ในการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านสิทธิมนุษยชน โดยยึดโยงกับหลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ในระดับ
ประถมศึกษาตอนปลาย ไปจนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย รวมถึงการปลูกฝังเกี่ยวกับ
สิทธิมนุษยชนแทรกไปในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 โดย
กระบวนการจัดทำาประกอบด้วยการประชุมร่วมกันเพื่อระดมความคิดเห็น การจัดทำา ตลอดจนการนำาเสนอ
มีการนำาไปปรับปรุงและแก้ไขในภายหลัง อีกทั้งยังมีการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อรับฟังข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ
ต่อร่างเอกสารดังกล่าว จากคณะครู อาจารย์ ทั้งในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อให้เอกสารผ่านการ
มีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องและเกิดความสมบูรณ์มากที่สุด
โดยหวังว่าจะทำาให้เด็ก เยาวชนซึ่งเป็นอนาคตและพลังที่จะขับเคลื่อนประเทศในภายภาคหน้า
ได้เกิดการเรียนรู้สิทธิมนุษยชนอย่างมีส่วนร่วม มีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักว่าหลักการสิทธิมนุษยชน
ทั้งการเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การเชื่อมั่นในความเท่าเทียมของบุคคล โดยปราศจากการแบ่งแยก
การศรัทธาในสิทธิและเสรีภาพของบุคคล และการปฏิบัติต่อผู้อื่นในฐานะที่เป็นเพื่อนมนุษย์เช่นเดียวกัน
โดยยืนอยู่บนธรรมชาติของความแตกต่างหลากหลายนั้นแท้จริงไม่ใช่แนวคิดตะวันตกที่ไกลตัว หากแต่
หลักการต่าง ๆ ที่ปรากฏในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ล้วนแต่สอดคล้องกับค่านิยมอันดีงามของ
สังคมไทย อาทิ ความเมตตา กรุณา ความมีนำ้าใจ การแบ่งปัน ความปรองดอง เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งที่เรา
พบเจอในวิถีชีวิตประจำาวันทั้งสิ้น
5