Page 4 - คู่มือการจัดการเรียนรู้สิทธิมนุษยชนศึกษา : ระดับปฐมวัย
P. 4

คู่มือการจัดการเรียนรู้สิทธิมนุษยชนศึกษา • ระดับปฐมวัย



                                      บทนำาและความเป็นมา




                            “ในสถานที่เล็ก ๆ ใกล้บ้านเล็กและใกล้มากจนไม่สามารถมองเห็นได้ใน
                     แผนที่โลก สถานที่เล็ก ๆ แห่งนั้น เป็นโลกของปัจเจกบุคคล เป็นละแวกบ้านที่

                     บุคคลอยู่อาศัย เป็นโรงเรียน หรือวิทยาลัยที่บุคคลได้เข้าเรียน เป็นโรงงาน ไร่นา
                     หรือสำานักงานที่บุคคลทำางาน สถานที่เหล่านี้เป็นที่ซึ่งบุรุษ สตรี และเด็กทุกคน
                     ต่างมองหาความยุติธรรมที่เท่าเทียมกัน โอกาสที่เท่าเทียมกัน ศักดิ์ศรีที่เท่าเทียมกัน

                     โดยปราศจากการแบ่งแยก ถ้าสิทธิเหล่านี้ไม่มีความหมายอยู่ ณ สถานที่นั้น ๆ
                            สิทธิเหล่านี้ก็จะมีความหมายเพียงน้อยนิดในทุกแห่ง ถ้าพลเมืองไม่ช่วยกัน
                     ยืนหยัดปกป้องสิทธิเหล่านี้ให้อยู่ใกล้บ้านก็เปล่าประโยชน์ที่จะให้เกิดความก้าวหน้า

                     ในโลกที่กว้างใหญ่ขึ้น”




                     คำากล่าวข้างต้นเป็นของ นางเอลีนอร์ รูสเวลท์ ภริยาอดีตประธานาธิบดีแฟรงคลิน ดี รูสเวลท์ของ
              สหรัฐอเมริกา ที่กล่าวไว้เมื่อครั้งมีการยกร่างปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งต่อมาที่ประชุมสมัชชา
              สหประชาชาติอันประกอบด้วย ประเทศสมาชิกทั่วโลกจำานวน 48 ประเทศ รวมถึงประเทศไทยได้มีข้อมติ

              รับรองปฏิญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชน เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) ถือเป็นจุดเริ่มต้น
              ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ที่บรรดาเหล่าสมาชิกประเทศในโลกได้สร้างเอกสารประวัติศาสตร์
              ร่วมกัน เพื่อมุ่งหวังให้เกิดหลักการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนแก่พลเมืองทั่วโลก
                     ในโลกใบนี้ เราทุกคนล้วนเติบโตมาบนพื้นฐานของความแตกต่างหลากหลาย ทั้งเชื้อชาติ  ศาสนา
              ภาษา วัฒนธรรม เราอาจมีแนวความคิด ความเชื่อ ฐานะ รูปลักษณ์ ร่างกายที่แตกต่างกัน สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่

              สิ่งที่ผิดปกติ ไม่ใช่ความน่ากลัวที่เราจะต้องแบ่งแยก กีดกั้น แบ่งพรรคแบ่งพวก หากแต่เป็นธรรมชาติของ
              ความหลากหลาย ซึ่งเราทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข หากเรายึดมั่นในคุณค่าของ “สิทธิมนุษยชน”
              อันเป็นคุณธรรมสากล ซึ่งประกอบด้วย หลักการพื้นฐานอันมุ่งหวังให้เพื่อนมนุษย์พึงกระทำาต่อกัน 4 ประการ

              ได้แก่

                                                                                              3
   1   2   3   4   5   6   7   8   9