Page 5 - คู่มือการจัดการเรียนรู้สิทธิมนุษยชนศึกษา : ระดับปฐมวัย
P. 5

คู่มือการจัดการเรียนรู้สิทธิมนุษยชนศึกษา • ระดับปฐมวัย



                     1.  การเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
                     2.  การเชื่อมั่นในความเท่าเทียมของบุคคล โดยปราศจากการแบ่งแยก

                     3.  การศรัทธาในสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
                     4.  การปฏิบัติต่อผู้อื่นในฐานะที่เป็นเพื่อนมนุษย์เช่นเดียวกัน

                     หลักการสิทธิมนุษยชนพื้นฐาน 4 ประการดังกล่าว ยังถือเป็นหลักการสำาคัญในปฏิญญาสากลว่าด้วย
              สิทธิมนุษยชนซึ่งถือกำาเนิดขึ้น เพื่อให้ทุกคนได้เรียนรู้และเข้าใจร่วมกันในหลักการสิทธิมนุษยชนจนนำาไปสู่การ
              ยอมรับและเกิดเป็นวัฒนธรรมการเคารพสิทธิมนุษยชนขึ้นในที่สุด และเป็นหัวใจสำาคัญยิ่งที่เราทุกคนควรจะ

              ได้ตระหนักและนำามาปรับใช้ในบริบทของตนเอง โดยเฉพาะครูบาอาจารย์ ซึ่งเป็นผู้มีบทบาทสำาคัญยิ่งต่อการ
              ก่อร่างสร้างฐานอันมั่นคงให้แก่สังคมโดยการปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้และตระหนักถึงคุณค่าของ

              สิทธิมนุษยชนผ่านการประยุกต์ใช้ในบทเรียน กิจกรรมการเรียนการสอน และวิถีชีวิตประจำาวัน
                     และเนื่องด้วยความสำาคัญในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนตามหลักการสากล รัฐธรรมนูญแห่ง
              ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 จึงได้บัญญัติให้มีองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ได้แก่ คณะกรรมการ

              สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยมีหน้าที่และอำานาจสำาคัญประการหนึ่งตามมาตรา 247 (5) ในการสร้างเสริม
              ทุกภาคส่วนของสังคมให้ตระหนักถึงความสำาคัญของสิทธิมนุษยชน  มีหน้าที่และอำานาจตาม
              พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560 มาตรา 27 (1)

              (2) และ (3) ในการส่งเสริม สนับสนุน ให้ความร่วมมือแก่บุคคล หน่วยงานของรัฐ และภาคเอกชน ในการ
              ศึกษา วิจัย เผยแพร่ความรู้และพัฒนาความเข้มแข็งด้านสิทธิมนุษยชน ส่งเสริม เผยแพร่ให้เด็ก เยาวชน
              รวมทั้งประชาชนทั่วไปตระหนักถึงสิทธิมนุษยชนของแต่ละบุคคลที่ทัดเทียมกัน และการเคารพใน

              สิทธิมนุษยชนของบุคคลอื่น ซึ่งอาจแตกต่างกันในทางวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และศาสนา
                     ทั้งนี้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในฐานะสถาบันด้านสิทธิมนุษยชนระดับชาติตามที่

              กล่าวมาได้เล็งเห็นว่า การจะส่งเสริมสิทธิมนุษยชนศึกษาให้งอกงามยั่งยืนนั้น จะต้องเร่งให้เกิดแนวทาง
              อย่างเป็นระบบในการสร้างเสริมสิทธิมนุษยชนในสถานศึกษาทั่วประเทศ โดยการร่วมมือกับกระทรวง
              ศึกษาธิการซึ่งกำากับดูแลสถานศึกษาในสังกัดกว่า 30,000 แห่ง มีบุคลากรทางการศึกษา กว่า 400,000 คน

              ซึ่งทำาหน้าที่สนับสนุนและให้การศึกษาขั้นพื้นฐานแก่เด็กนักเรียนในประเทศ กว่า 7,000,000 คน ดังนั้น


              4
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10