Page 152 - กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
P. 152
กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
หน้า ๘
เล่ม ๑๓๕ ตอนพิเศษ ๔๒ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
“ผู้ถูกร้อง” หมายความว่า บุคคลหรือหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนซึ่งถูกกล่าวอ้างว่ากระทํา
หรือละเลยการกระทําอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
“เจ้าหน้าที่สํานักงาน” หมายความว่า ข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้าง ของสํานักงาน
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
“เจ้าหน้าที่รับเรื่องร้องเรียน” หมายความว่า ข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้าง
ของสํานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ผู้ได้รับมอบหมายให้ทําหน้าที่รับและตรวจเรื่องร้องเรียน
“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งปฏิบัติการตามระเบียบนี้
“พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบคําร้อง” หมายความว่า ข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้าง
ของสํานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ผู้ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ
ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งได้รับมอบหมาย
ให้ตรวจสอบข้อเท็จจริง และจัดทํารายงานผลการตรวจสอบ
“ผู้ทรงคุณวุฒิ” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทรงคุณวุฒิตามระเบียบ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติว่าด้วยการนั้น
มาตราที่อ้างถึงในระเบียบนี้ ให้หมายถึงมาตราของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ ๕ ให้ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติรักษาการตามระเบียบนี้
ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ ๖ การดําเนินการต่อเรื่องร้องเรียนและคําร้องของเจ้าหน้าที่รับเรื่องร้องเรียนและ
พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบคําร้องตามระเบียบนี้ ให้มีการปรึกษาหารือกับผู้บังคับบัญชาชั้นต้น
ก่อนเสนอเรื่องหรือความเห็นต่อคณะกรรมการหรือกรรมการที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบในเรื่องนั้น ๆ
พิจารณา
ข้อ ๗ ระยะเวลาตามที่กําหนดไว้ในระเบียบนี้ คณะกรรมการอาจย่นหรือขยายได้ตามที่
เห็นสมควร ทั้งนี้ ให้คํานึงถึงความจําเป็นและประโยชน์แห่งการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนโดยไม่ล่าช้า
เป็นสําคัญ
การขอขยายระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ขอแสดงเหตุผลและความจําเป็นหรือข้อขัดข้อง
เพื่อขอขยายระยะเวลาในแต่ละเรื่องต่อคณะกรรมการประกอบการพิจารณา และให้บันทึกเหตุดังกล่าว
ไว้ในสํานวนด้วย
143
.indd 143 27/8/2562 12:27:36