Page 22 - รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
P. 22
บทสรุปผู้บริหาร
๑.๒ ผลการด�าเนินงานการติดตามผลการด�าเนินการด้านการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ประกอบด้วย
(๑) การติดตามการด�าเนินการตามมาตรการการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน จ�าแนกเป็น (๑.๑)
การติดตามผลด�าเนินการตามมาตรการการแก้ไขปัญหาจากรายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนก่อน
ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ด�าเนินการและสามารถยุติการติดตามได้ รวมทั้งสิ้นจ�านวน ๒๙
รายงาน โดยเป็นสิทธิชุมชน สูงที่สุด จ�านวน ๑๖ รายงาน คิดเป็น ร้อยละ ๕๕ และ (๑.๒) การติดตามผลด�าเนินการตาม
มาตรการการแก้ไขปัญหาจากรายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ มีเรื่อง
ร้องเรียนที่ตรวจสอบแล้วเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่ง กสม. ได้ก�าหนดมาตรการการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน
ไปยังองค์กรของรัฐที่เกี่ยวข้อง จ�านวน ๓๕ รายงาน โดยเป็น สิทธิชุมชน สูงที่สุด จ�านวน ๑๑ รายงาน คิดเป็น ร้อยละ ๓๑
(๒) ผลการด�าเนินงานการติดตามการด�าเนินการตามข้อเสนอแนะนโยบาย จ�าแนกเป็น (๒.๑) การติดตาม
การด�าเนินการตามข้อเสนอแนะนโยบาย ก่อนปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ด�าเนินการตามข้อ
เสนอแนะนโยบายและสามารถยุติการติดตามได้ภายในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ รวมทั้งสิ้นจ�านวน ๗ รายงาน โดย
เป็นการเลือกปฏิบัติไม่เป็นธรรม สูงที่สุด จ�านวน ๓ รายงาน คิดเป็น ร้อยละ ๔๓ และ (๒.๒) การติดตามการด�าเนินการตาม
ข้อเสนอแนะนโยบาย ประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ รวมทั้งสิ้นจ�านวน ๑๒ รายงาน โดยเป็นสิทธิในการรับบริการทาง
สาธารณสุข สูงที่สุด จ�านวน ๓ รายงาน คิดเป็น ร้อยละ ๒๕
(๓) ผลการด�าเนินงานการติดตามการด�าเนินการตามข้อเสนอแนะในการปรับปรุงกฎหมาย จ�าแนกเป็น
(๓.๑) การติดตามผลด�าเนินการตามข้อเสนอแนะในการปรับปรุงกฎหมาย ก่อนปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งหน่วยงานที่
เกี่ยวข้องได้ด�าเนินการ และสามารถยุติการติดตามได้ รวมทั้งสิ้น จ�านวน ๗๒ รายงาน โดยเป็นสิทธิในกระบวนการยุติธรรม
สูงที่สุด จ�านวน ๓๕ รายงาน คิดเป็นร้อยละ ๔๙ และ (๓.๒) การติดตามผลด�าเนินการตามข้อเสนอแนะในการปรับปรุง
กฎหมาย ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ รวมทั้งสิ้นจ�านวน ๑๒ รายงาน โดยเป็นสิทธิในกระบวนการยุติธรรม สูงที่สุด จ�านวน
๓ รายงาน คิดเป็น ร้อยละ ๒๗
โดยแสดงรายละเอียดกรณีตัวอย่าง ผลการด�าเนินงานด้านการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ จ�านวน ๑๙ กรณี ดังนี้
กรณีที่ ๑ สิทธิชุมชนและสิทธิในการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรณีกล่าวอ้าง
ว่าร่างพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. .... กระทบต่อสิทธิมนุษยชน
กรณีที่ ๒ สิทธิชุมชน และเสรีภาพในการประกอบอาชีพ กรณีกล่าวอ้างว่าชาวประมงพื้นบ้านได้รับผลกระทบ
จากการประกาศบังคับใช้พระราชก�าหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
กรณีที่ ๓ สิทธิชุมชน กรณีกล่าวอ้างว่าพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน�้าไทย (ฉบับที่ ๑๗) พ.ศ. ๒๕๖๐
ส่งผลกระทบต่อชุมชนชายฝั่งและชุมชนริมน�้า
กรณีที่ ๔ สิทธิชุมชน กรณีกล่าวอ้างว่าการก่อสร้างคลังก๊าซแหลมใหญ่และท่าเทียบเรือของคลังก๊าซ มีผลกระทบ
ต่อสิ่งแวดล้อมและการประกอบอาชีพของชุมชนคลองน้อย
กรณีที่ ๕ สิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขและสวัสดิการจากรัฐ กรณีนโยบายและแผนการด�าเนินงานเพื่อ
ลดความพิการแต่ก�าเนิด โดยการก�าหนดให้กรดโฟลิกเป็นส่วนประกอบในอาหาร
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ | 21