Page 278 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 278
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
5.4.4 ความเชื่อมโยงระหว่างแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนกับแผนยุทธศาสตร์ฯ
แผนยุทธศาสตร์ฯ กสม.
กสม. ได้ด าเนินการจัดท าแผนยุทธศาสตร์ของ กสม. พ.ศ. 2560-2565 ขึ้น ทั้งนี้ ที่ผ่านมา กสม. ต้อง
ประสบกับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ภายนอกทั้งทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองอันส่งผลกระทบต่อ
สถานการณ์สิทธิมนุษยชนและสถานะการด าเนินงานที่ผ่านมาในด้านต่างๆ ขององค์กร ทั้งในประเด็นเด็กและสตรี
แรงงานข้ามชาติ การอนุรักษ์ฟื้นฟูและการจัดการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิทธิในกระบวนการ
ยุติธรรม การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่กระทบต่อสิทธิมนุษยชน และการค้ามนุษย์ เป็นต้น ประกอบกับ กสม.
ถูกลดสถานะหน่วยงานจากเกรด A เป็นเกรด B สถานการณ์ปัญหาดังกล่าวมีสาเหตุเกิดขึ้นได้หลายปัจจัย อาทิ
ปัญหาเกี่ยวกับระบบคณะอนุกรรมการ ปัญหาความล่าช้าและคุณภาพในการจัดท ารายงาน การแสวงหาข้อเท็จจริงใน
การตรวจสอบ ขาดข้อมูลเชิงลึกในการวิเคราะห์ประเด็นการละเมิด มาตรการแก้ไขและข้อเสนอแนะในรายงานไม่
สามารถน าไปปฏิบัติได้จริง ด้วยเหตุดังกล่าว กสม. จึงจ าเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพิจารณาถึงประเด็นท้าทายและปัญหา
ต่างๆ อย่างครบถ้วนรอบด้าน และมีความชัดเจน ครอบคลุมถึงกรอบทิศทาง นโยบาย เป้าหมาย ยุทธศาสตร์การ
ด าเนินงานตามอ านาจหน้าที่ของ กสม. และการวางระบบการท างานของ กสม. ที่เกี่ยวกับระบบงาน บุคลากร และ
ระบบฐานข้อมูลสนับสนุนการด าเนินงานของ กสม. ในภาพรวมและในแต่ละปี รวมทั้งมาตรการที่จะให้การ
ด าเนินการขององค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สามารถแปลงไปสู่การปฏิบัติในการจัดท า
แผนปฏิบัติการเพื่อการจัดท างบประมาณรายจ่ายประจ าปีของ กสม. ให้เกิดผลส าเร็จตามเป้าหมายอย่างเป็น
รูปธรรม เป็นที่เชื่อมั่นขององค์กรและหน่วยงานภาครัฐ องค์กรภาคเอกชนรวมทั้งสาธารณชน ท าให้เห็นถึงความคุ้มค่า
และความจ าเป็นในการมีอยู่ขององค์กรอย่างยั่งยืนตามหลักการและเจตนารมณ์ในการจัดตั้งองค์กรต่อไป
ในการจัดท าแผนยุทธศาสตร์นั้น กสม. ได้ก าหนดวิสัยทัศน์โดยวางต าแหน่งขององค์กรให้ “เป็นสถาบัน
2
อิสระ ในการร่วมสร้างสังคมให้เคารพสิทธิมนุษยชน” ทั้งนี้ การที่จะบรรลุในวิสัยทัศน์ดังกล่าว กสม. จ าเป็นที่
จะต้องมีพันธกิจที่ตอบสนองต่อวิสัยทัศน์นั้น โดย กสม. ได้แบ่งพันธกิจของตนออกเป็น 4 ประการ ดังนี้
1. ด าเนินงานให้เกิดการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ กฎหมาย พันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน
ที่ประเทศไทยจะต้องปฏิบัติตาม
2. ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจและสร้างความตระหนักในหลักสิทธิมนุษยชนแก่ทุกภาคส่วนอย่างทั่วถึง
และคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอย่างเท่าเทียมกัน
3. ท างานร่วมกับทุกภาคส่วนในลักษณะเครือข่ายอย่างเป็นระบบด้วยกระบวนการปฏิบัติงานที่มี
มาตรฐาน และ
4. ประสานความร่วมมือกับสถาบันสิทธิมนุษยชนระดับนานาชาติ
2 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติให้ความเห็นชอบ เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2559
5-48