Page 253 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 253

รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
               แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562


                       3.   บทบาทของภาคธุรกิจในปัจจุบันในการคุ้มครองและดูแลจัดการปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนและการ
               ประกอบธุรกิจ

                       4.   บทบาทของภาคีร่วมอื่นๆ (ภาคประชาสังคม องค์กรพัฒนาเอกชน สื่อ ภาควิชาการและต่างประเทศ)
               ในปัจจุบันในการคุ้มครองและดูแลจัดการปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจ

                       5.   บทบาทของ กสม. ในปัจจุบันในการคุ้มครองและดูแลจัดการปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนและการ

               ประกอบธุรกิจ

                       การประเมินจะอาศัยมาตรวัดคะแนนตั้งแต่ 1-5 โดยคะแนนที่เท่ากับ 1 หมายถึงน้อยที่สุด และคะแนนที่
               เท่ากับ 5 หมายถึงมากที่สุด โดยคะแนนที่เท่ากับ 3 หมายถึงขนาดของปัญหา หรือระดับความสามารถในการ
               จัดการอยู่ในระดับที่เหมาะสมตามมาตรฐานที่ควรจะเป็นของผู้ตอบแบบสอบถาม




                                            1
                       ผลการประเมินในแต่ละข้อ  รวมทั้งผลการสังเคราะห์สถานการณ์สามารถสรุปได้ดังนี้

                       1.   ขนาดของปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากการด าเนินการของภาคธุรกิจในประเทศไทย

                       ในภาพรวม ตัวแทนจากทุกกลุ่มมีความเห็นที่ตรงกันว่าปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนอยู่ในระดับที่
               ค่อนข้างสูง โดยมุมมองของ กสม. และภาคประชาสังคมจะเห็นตรงกันว่าปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนและการ
               ประกอบธุรกิจอยู่ในระดับที่ค่อนข้างมาก ในขณะที่กลุ่มภาครัฐและภาคเอกชนแม้ว่าจะมีความเห็นที่สอดคล้องกัน

               ว่าปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง แต่ค่าเฉลี่ยของคะแนนประเมินอยู่ในระดับที่ต่ ากว่า
               ค่าเฉลี่ยของทุกๆ กลุ่มอย่างมีนัยส าคัญ

                       ผลการประเมินได้สะท้อนให้เห็นถึงความไม่เท่าเทียมกันของข้อมูลระหว่างกลุ่ม โดยกลุ่ม กสม. และภาค
               ประชาสังคมจะมีข้อมูลที่มากกว่า มีความเข้าใจในประเด็นปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนที่ลึกซึ้งกว่า การแก้ไขปัญหา
               ด้านสิทธิมนุษยชนที่ส าคัญสุดอันดับแรกจึงอยู่ที่การแลกเปลี่ยนข้อมูลและให้ความรู้ในประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน

               ระหว่างกลุ่ม ความเข้าใจในประเด็นปัญหาและยอมรับการมีอยู่ของปัญหาจะเป็นจุดเริ่มที่ส าคัญที่น าไปสู่การสร้าง
               ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนในอนาคต












               1    จ านวนผู้ตอบแบบสอบถามมีทั้งสิ้น 105 คน ประกอบไปด้วย ผู้เข้าร่วมจาก กสม. 28 คน ตัวแทนจากภาครัฐจ านวน 18 คน
                   ตัวแทนจากภาคเอกชน 43 คน และตัวแทนจากภาคประชาสังคม สื่อและภาควิชาการจ านวน 16 คน ทั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมบางคน
                   เลือกที่จะไม่ให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถาม การน าเสนอผลการตอบแบบสอบถามจะใช้ค่าเฉลี่ยของผู้ตอบ
                   แบบสอบถามแต่ละกลุ่ม และค่าเฉลี่ยของทุกกลุ่มจะมาจากการค านวณค่าเฉลี่ยของค่าเฉลี่ยของแต่ละกลุ่มอีกทอดหนึ่ง โดยให้
                   ค่าถ่วงน้ าหนักที่เท่ากัน



                                                             5-26
   248   249   250   251   252   253   254   255   256   257   258