Page 251 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 251
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
ในการจัดท ารายงานประจ าปี รวมทั้งสนับสนุนให้ภาคธุรกิจมีการตั้งกลไกภายในองค์กรเพื่อสนับสนุนการคุ้มครอง
ด้านสิทธิมนุษยชน
4. ภาคธุรกิจด าเนินการตามมาตรฐานสิทธิมนุษยชนโดยสมัครใจและไม่ได้ถูกบังคับด้วยกฎหมาย ดังนั้น
กลไกที่จะผลักดันในเชิงบวกที่ดี คือ การร่วมมือกับองค์กร หรือสถาบันตรวจสอบที่ได้รับการยอมรับในสังคมเพื่อ
สนับสนุนกลไกเกี่ยวกับปัญหาการประกอบธุรกิจและสิทธิมนุษยชน รวมถึงการให้แรงจูงใจที่เหมาะสม เช่น สมาคม
ส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย เป็นต้น อีกแนวทางหนึ่ง คือ การประสานความร่วมมือกับกลุ่มนักลงทุนเชิง
สถาบัน เพื่อให้ประเด็นด้านการเคารพสิทธิมนุษยชนเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ส าคัญในการเลือกลงทุนในธุรกิจ
5. ประเด็นปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนคาดว่าจะเกิดขึ้นกับโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ที่ได้รับสัมปทานจาก
ภาครัฐ กสม. ควรที่จะมีการตั้งกลไกการเฝ้าระวังปัญหาเฉพาะเรื่องที่สอดคล้องกับประเด็นปัญหาที่คาดว่าจะ
เกิดขึ้นในอนาคต
6. ภาคธุรกิจมีความคุ้นเคยกับหลักการ CSR และบางส่วนมีความคุ้นเคยกับหลักการ Governance
กสม. ควรที่จะอาศัยกรอบธรรมาภิบาลในการผลักดันด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน เช่น การผนวกเรื่องสิทธิ
มนุษยชนให้เป็นส่วนหนึ่งของธรรมาภิบาลของภาคธุรกิจ โดยมีการตั้งเป้าหมายให้ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนควร
ได้รับความใส่ใจเป็นหลักการพื้นฐานส าคัญ เช่นเดียวกับหลักการ Governance
กลุ่มสังคม/ประชาชนทั่วไป
ในส่วนของกลุ่มสังคม/ประชาชนทั่วไปจะมีสถานการณ์ที่ส าคัญ คือ
1. ประชาชนทั่วไปยังมีความรู้พื้นฐานทางด้านสิทธิมนุษยชนที่จ ากัด กสม. จึงควรที่จะท าหน้าที่ให้ความรู้
พื้นฐานให้กับประชาชนทั่วไป รวมทั้งสร้างความตระหนักรู้ให้กับกลุ่มเสี่ยงต่อการถูกละเมิด
2. ประชาชนทั่วไปมักจะถูกละเมิดสิทธิโดยภาคธุรกิจในประเด็นแรงงาน แรงงานข้ามชาติ ชุมชนและ
กลุ่มเปราะบาง ทั้ง 4 กลุ่มนี้ควรที่จะได้รับการดูแลเป็นพิเศษ โดยทาง กสม. ควรจัดท ากรณีศึกษาร่วมที่ให้ความรู้
กับกลุ่มเป้าหมายทั้ง 4 กลุ่มถึงสิทธิที่มักจะถูกละเมิด หรือสามารถถูกละเมิดโดยการด าเนินการของภาคธุรกิจ
3. ประชาชนบางส่วนมีการรวมกลุ่มเพื่อสร้างความเข้มแข็งในการปกป้องสิทธิของตน กสม. จึงควรขยาย
โอกาสในการเข้าถึงของประชาชนกลุ่มนี้ให้มากยิ่งขึ้นและควรที่จะมีการติดต่อประสานงานกับกลุ่มอย่างต่อเนื่อง
โดยบทบาทที่ส าคัญอีกประการหนึ่งก็คือ การสนับสนุนให้ข้อมูล ให้ความรู้ในกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้
แน่ใจว่าเสียงของประชาชนได้ถูกพิจารณาภายใต้กระบวนการตัดสินใจที่โปร่งใสและเป็นธรรม
กลุ่มภาคีร่วมอื่นๆ (ภาคประชาสังคม สื่อและภาควิชาการ)
ในส่วนของกลุ่มภาคีร่วมอื่นๆ จะมีสถานการณ์ที่ส าคัญคือ
1. ภาคประชาสังคมและสื่อ เข้ามามีบทบาทในการดูแลตรวจสอบพิทักษ์สิทธิมากยิ่งขึ้น การด าเนินการที่
ควรจะเป็นของ กสม. คือ การสร้างพลังของภาคประชาสังคมและสื่อให้เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น โดยสนับสนุนทั้งในเรื่อง
ของการให้ข้อมูล ค าปรึกษา รวมทั้งสนับสนุนกลไกการปกป้องคุ้มครองผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชนและผู้ให้ข้อมูล
5-24