Page 252 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 252

รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
               แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562


               นอกจากนี้ กสม. ควรที่จะสนับสนุนภาคสื่อในการท าหน้าที่ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในเชิงลึกให้มาก
               ยิ่งขึ้นอีกด้วย

                       2.   บทบาทของภาควิชาการในปัจจุบันยังมีบทบาทที่จ ากัด ส่วนหนึ่งเกิดขึ้นมาจากข้อจ ากัดทางด้าน
               ข้อมูล กสม. จึงควรที่จะสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาที่ตอบโจทย์ปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนกับภาคธุรกิจบนพื้นฐาน

               ของความเป็นกลางตามหลักวิชาการ และควรที่จะท าหน้าที่เป็นคลังข้อมูลเพื่อสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา (เช่น
               ข้อมูลมาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ข้อสรุปจากผลงานวิจัยเชิงลึก ตัวอย่าง
               กรณีศึกษาที่ประสบความส าเร็จและไม่ประสบความส าเร็จของทั้งในและต่างประเทศ เป็นต้น) รวมทั้งการเผยแพร่
               ความรู้ไปยังกลุ่มต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

                       กลุ่มต่างประเทศ

                       ในส่วนของกลุ่มต่างประเทศ จะมีสถานการณ์ที่ส าคัญ คือ

                       1.   ต่างประเทศมีการพัฒนามาตรฐานและกฎระเบียบใหม่ๆ ที่เป็นหลักสากลเพื่อที่จะดูแลปัญหาการ

               ละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยภาคธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น กสม. จึงควรที่จะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่เปิดรับเอามาตรฐาน
               ใหม่ๆ มาผลักดันให้เกิดการปรับใช้ในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง

                       2.   ต่างประเทศมีกลไกการเฝ้าระวังและตรวจสอบปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยภาคธุรกิจ
               โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาที่เกิดขึ้นกับธุรกิจข้ามชาติ และธุรกิจที่ส่งออกสินค้าไปยังประเทศที่พัฒนาแล้ว กสม. จึง
               ควรที่จะเข้าไปมีบทบาทในการร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูล และประสานข้อมูลที่ส าคัญให้กับหน่วยงานภาครัฐในการ

               ด าเนินการต่อไป

                       3.   การเสนอรายงานทบทวนสิทธิมนุษยชนของประเทศตามกลไก UPR  ช่วยผลักดันภาครัฐให้เห็นถึง
               ความส าคัญของการจัดการปัญหาด้านธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน จึงเป็นโอกาสที่ กสม. จะเข้ามามีส่วนสนับสนุนการ
               ท างานของภาครัฐ โดยให้ข้อมูลเชิงเทคนิคและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับภาครัฐ


                       5.2.3  สถานการณ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนที่สะท้อนจากมุมมองของผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่มย่อย

                       ในส่วนนี้จะเป็นการสังเคราะห์สถานการณ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนในภาพรวมจากข้อมูล
               แบบสอบถามที่ได้จากผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่มย่อย โดยค าถามในภาพรวมจะแบ่งออกเป็น 6 ข้อ ประกอบไปด้วย

               ค าถามหลัก 1 ค าถามที่สะท้อนถึงขนาดของปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในปัจจุบัน และ 5 ค าถามที่สะท้อนถึง
               ความสามารถในการจัดการปัญหาของแต่ละภาคส่วน โดยในการส ารวจจะแบ่งภาคส่วนออกเป็น 5 กลุ่มที่ส าคัญ
               ได้แก่

                       1.   ความพอเพียงและความเหมาะสมของกฎหมาย/กฎระเบียบและมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนและการ
               ประกอบธุรกิจที่มีอยู่ในปัจจุบัน

                       2.   บทบาทของภาครัฐในปัจจุบันในการคุ้มครองและดูแลจัดการปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนและการ

               ประกอบธุรกิจ






                                                             5-25
   247   248   249   250   251   252   253   254   255   256   257