Page 250 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 250

รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
               แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562



                       5.2.2  สถานการณ์ส าคัญด้านสิทธิมนุษยชนจากในและต่างประเทศ และแนวโน้มด้านสิทธิมนุษยชน
               และการประกอบธุรกิจที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างการด าเนินการตามแผนฯ

                       ในส่วนนี้จะเป็นการน าเสนอสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนที่ส าคัญที่ กสม. ควรจะมีบทบาทเกี่ยวข้อง โดย
               การน าเสนอจะจ าแนกออกเป็นรายกลุ่ม รวม 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มภาคภาครัฐ/รัฐวิสาหกิจ กลุ่มภาคธุรกิจ กลุ่ม
               สังคม/ประชาชนทั่วไป กลุ่มภาคีร่วมอื่นๆ (ประชาสังคม สื่อและภาควิชาการ) และกลุ่มต่างประเทศ ดังนี้

                       กลุ่มภาครัฐ/รัฐวิสาหกิจ

                       ในส่วนของกลุ่มภาครัฐ/รัฐวิสาหกิจจะมีสถานการณ์ที่ส าคัญคือ

                       1.   ภาครัฐก าลังด าเนินการจัดท าแผน NAP ซึ่งทาง กสม. ควรจะมีบทบาทในการให้ค าปรึกษากับภาครัฐ

                       2.   รัฐบาลไทยได้เข้าร่วมภาคีสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ แต่ยังพบปัญหาใน 2 มิติ ได้แก่

               มิติความครอบคลุมที่ภาครัฐยังไม่เข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาองค์การระหว่างประเทศบางฉบับ และมิติของการ
               ผลักดันกฎหมายให้ครอบคลุมตามสนธิสัญญาที่ได้ท าการรับรอง ในส่วนนี้ ทาง กสม. ควรเข้ามาให้ค าแนะน าทั้งใน
               แง่ของความเหมาะสม และความจ าเป็นในการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาที่เหลือ และในแง่ของความไม่สอดคล้องกัน
               ระหว่างกฎหมายที่บังคับใช้อยู่กับมาตรฐานที่ควรจะเป็น


                       3.   ภาครัฐเริ่มให้ความส าคัญเป็นพิเศษกับบางประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการ
               ประกอบธุรกิจ เช่น กรณีการค้ามนุษย์ ในความเห็นของคณะผู้วิจัยมองว่า กสม. ควรมีการก าหนดกลุ่มประเด็น
               ปัญหาเฉพาะที่สอดคล้องกับภาครัฐ เพื่ออาศัยโอกาสที่ภาครัฐให้ความสนใจเพื่อให้ข้อมูลแนวทางการแก้ไขปัญหาที่
               เหมาะสม

                       4.   ภาครัฐยังขาดการเชื่อมโยงประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนเข้ากับแผนพัฒนาของประเทศอย่างชัดเจนและ

               ครอบคลุม การผลักดันในเชิงนโยบายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับภาครัฐจะมีการพัฒนาได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับทาง กสม. ว่า
               จะสามารถผลักดันการเชื่อมโยงประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนที่ส าคัญเข้ากับแผนพัฒนาของประเทศได้มากน้อย
               เพียงใด

                       กลุ่มภาคธุรกิจ

                       ในส่วนของกลุ่มภาคธุรกิจจะมีสถานการณ์ที่ส าคัญ คือ

                       1.   ภาคธุรกิจยังมีความรู้ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจและสิทธิมนุษยชนที่ค่อนข้างจ ากัด บทบาทใน
               การให้ข้อมูลและการสร้างความตระหนักรู้จึงเป็นบทบาทที่ส าคัญที่ควรจะด าเนินการ

                       2.   ภาคธุรกิจให้ความร่วมมือกับ กสม. ในการให้ข้อมูลเมื่อถูกร้องถามในระดับที่ดี แต่ในความเป็นจริง

               ภาคธุรกิจก็ยังคงมีความกังวลในบทบาทของ กสม. อยู่ การปรับบทบาทของ กสม. ให้ท างานในเชิงบวกมากยิ่งขึ้น
               เช่น การสร้างภาคีต่อต้านการละเมิดสิทธิมนุษยชนอาจจะช่วยปรับภาพลักษณ์ขององค์กรได้ดี

                       3.   ภาคธุรกิจยังขาดการบูรณาการกระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนเข้ากับระบบประเมินความ
               เสี่ยงของธุรกิจ ดังนั้น กสม. ควรที่จะผลักดันเผยแพร่คู่มือ HRDD ในภาคปฏิบัติ และควรให้ค าแนะน าทางเทคนิค





                                                             5-23
   245   246   247   248   249   250   251   252   253   254   255