Page 163 - รายงานศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยผังเมืองกับการคุ้มครองสิทธิชุมชนและสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชน
P. 163

สำานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ



                    -  ชุมชนในจังหวัดสตูลและจังหวัดสงขลา ส่วนใหญ่เป็นชุมชนเกษตรและชุมชนประมง แต่

                      ในการกำาหนดนโยบายเพื่อการวางผังไม่ได้ระบุถึงการพัฒนาด้านการเกษตรและประมง จึงควรมี
                      การทบทวนและเพิ่มเติมนโยบายด้านนี้ในผังเมืองให้ชัดเจนเพื่อให้เกิดการกำาหนดการใช้ประโยชน์

                      และมาตรการที่คุ้มครองพื้นที่ผลิตอาหาร พื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ประมงชายฝั่ง

                    -  การเขียนข้อกำาหนดยากแก่การควบคุมและป้องกันผลกระทบต่อชุมชน อันได้แก่ ข้อกำาหนดที่ดิน

                      ประเภทชนบทและเกษตรกรรม ซึ่งเขียนว่า “ห้ามโรงงานประเภทอื่นนอกจาก (1) ที่ไม่มีระบบวิธี

                      การควบคุมการปล่อยของเสีย มลพิษหรือสิ่งใดๆ ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ตามกฎหมายว่าด้วย
                      โรงงาน” ซึ่งการเขียนลักษณะนี้จะทำาให้ชุมชนไม่สามารถทราบถึงกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

                      ว่าเป็นกิจกรรมใด ทำาให้ไม่มีข้อมูลสำาหรับการวางแผนกำาหนดมาตรการป้องกันสิ่งแวดล้อมชุมชน

                      และในทางปฏิบัตินั้น โรงงานจะต้องมีระบบในการควบคุมการปล่อยของเสียและมลพิษ ดังนั้น
                      จึงควรปรับปรุงโดยระบุประเภทและขนาดของโรงงานหรือกิจกรรมที่เป็นข้อห้ามให้ชัดเจน

                      โดยอ้างอิงจากบัญชีประเภทโรงงาน ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน เป็นต้น

                    -  ข้อกำาหนดกิจการอุตสาหกรรมที่มีผลกระทบในการใช้ที่ดินประเภทชุมชน ประเภทชนบท

                      และเกษตรกรรมเนื่องจากกำาหนดไว้เพียงข้อห้ามตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง

                      มาตรการคุ้มครองความปลอดภัยในการดำาเนินงาน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2552 แต่มีการให้ข้อยกเว้น
                      ในบางพื้นที่และบางกิจกรรม เช่น การยกเว้นโรงงานลำาดับที่ 91(2) การบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว

                      เนื่องด้วยเป็นอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงสูง ในพื้นที่บริเวณที่เป็นชายฝั่งและป่าชายเลนซึ่งจะมี
                      ผลกระทบต่อชุมชนที่ดำารงชีวิตอยู่กับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เป็นฐานของ

                      การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่เป็นฐานเศรษฐกิจที่ยั่งยืนของชุมชน

                    -  การกำาหนดวัตถุประสงค์ผังเมืองรวมจังหวัดสตูลและจังหวัดสงขลา เน้นในการใช้ประโยชน์

                      ทรัพย์สินเพื่อการคมนาคม การขนส่งและการเน้นส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

                      เป็นการขัดแย้งกับนโยบายหลักเพื่อส่งเสริมและพัฒนาจังหวัดสงขลาและจังหวัดสตูล ให้เป็น
                      ศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และเป็นพื้นที่แหล่งอาหาร จึงควรมีการจัดลำาดับความสำาคัญ

                      ของนโยบายการพัฒนาที่จะจัดระบบการใช้ที่ดินในผังเมือง ให้สอดคล้องกับการท่องเที่ยวเชิง
                      อนุรักษ์และการเป็นพื้นที่แหล่งอาหาร โดยให้ความสำาคัญกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

                      และสิ่งแวดล้อม

                    -  ไม่มีการกำาหนดข้อห้ามอุตสาหกรรมบางประเภทให้ชัดเจนในการใช้ที่ดินประเภทอนุรักษ์ป่าไม้

                      และที่ดินประเภทสงวนไว้เพื่อรักษาสภาพป่าชายเลน เพื่อให้เป็นการรักษาระบบนิเวศเพื่อ

                      การรักษาสภาพแวดล้อม การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และการประมง

                    -  ไม่มีการกำาหนดบริเวณที่ชัดเจนเป็นการเฉพาะที่จะให้มีกิจกรรมบำาบัดนำ้าเสียรวมของชุมชน

                      ในการใช้ที่ดินประเภทชุมชน ประเภทชนบทและเกษตรกรรมและประเภทอนุรักษ์สภาพแวดล้อม
                      เพื่อการท่องเที่ยว




                                                          162
   158   159   160   161   162   163   164   165   166   167   168