Page 12 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 12

ความเจ็บป่วย โรคภัยไข้เจ็บ และจัดวางอยู่ในสถานะเดียวกับการทะเลาะวิวาท ความรุนแรง

                  การติดยาเสพติด และเยาวชนเองยังไม่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชน และการเข้าถึงสิทธินั้น



                        การที่เยาวชนไม่มีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงสิทธิมนุษยชน สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์

                  ของตนเองที่มีและพึงมี น�าไปสู่การถูกละเมิดสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนหญิง

                  ตั้งครรภ์ที่ถูกจัดวางในฐานะปัญหาและความเสื่อมโทรมของจริยธรรมทางสังคม และจากการศึกษา

                  ปัญหาเยาวชนหญิงตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม ด้วยการลงพื้นที่ภาคสนามเพื่อน�าประสบการณ์ของเยาวชน

                  หญิงกลุ่มนี้มาวิเคราะห์ถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยก�าหนดขอบเขตกลุ่มเป้าหมาย จ�านวน ๗๒

                  ราย ประกอบด้วย ๑) กลุ่มเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม โดยแบ่งเป็นกลุ่มเยาวชนหญิงที่

                  ตั้งครรภ์ต่อและยุติการตั้งครรภ์ จ�านวน ๓๒ คน  ๒) กลุ่มผู้ปกครองของเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์

                  โดยไม่พร้อม และเจ้าหน้าที่ขององค์กรพัฒนาเอกชน ภาคประชาสังคม โรงพยาบาลและโรงเรียน

                  ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จ�านวน ๒๐ คน ๓) กลุ่มเยาวชนชายทั่วไปที่ยังไม่ได้แต่งงาน ซึ่งไม่จ�าเป็นว่าจะมี

                  ประสบการณ์ทางเพศหรือไม่ จ�านวน ๒๐ คน โดยพื้นที่ในการเก็บข้อมูลเลือกเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ

                  นนทบุรี นครปฐม และเพชรบุรี อย่างไรก็ตามในการเข้าถึงข้อมูล ขึ้นอยู่กับความยินยอมและ

                  การตัดสินใจของเยาวชน ซึ่งเป็นไปตามจริยธรรมในการวิจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เยาวชนหญิงตั้งครรภ์

                  ที่ตัดสินใจยุติการตั้งครรภ์ เพราะเยาวชนหญิงกลุ่มนี้มักไม่ต้องการเปิดเผยเรื่องราว ประสบการณ์

                  และยินยอมให้ข้อมูล ท�าให้ไม่สามารถศึกษาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ได้ครบตามจ�านวนที่ก�าหนดไว้

                  ที่ ๓๒ คน
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17