Page 10 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 10
การท�าแท้งหรือยุติการตั้งครรภ์ยังถูกบัญญัติในฐานะอาชญากรรมอย่างหนึ่งที่มีบทลงโทษชัดเจน
และอยู่บนการตีความของแพทย์และเจ้าหน้าที่จากภาครัฐเท่านั้น ไม่ใช่การตัดสินใจของเยาวชน
หญิงผู้ตั้งครรภ์ ทั้งๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของสิทธิมนุษยชน
นอกจากนี้เพื่อให้งานวิจัยชิ้นนี้รอบด้านและสอดคล้องกับการก้าวไปสู่ประชาคมอาเซียนของ
ประเทศไทย จึงได้ศึกษาถึงหลักกฎหมายบางประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเลือก
จากพื้นฐานทางสังคมที่แตกต่างกัน ได้แก่ เวียดนามที่อิทธิพลของลัทธิขงจื๊อมีบทบาทอย่างมากต่อ
กระบวนทัศน์ของสมาชิกในสังคม รวมไปถึงบทกฎหมายของฟิลิปปินส์ที่ตั้งอยู่บนจุดยืนของศาสนจักร
โรมันคาทอลิก ซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากต่อการวางแผนครอบครัว และอินโดนีเซียกฎหมายคุ้มครอง
สิทธิมนุษยชนแต่ต้องอยู่ภายใต้ความเชื่อทางศาสนาอิสลาม ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหา
การละเมิดสิทธิมนุษยชน สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ของเยาวชนหญิง ผ่านการแก้กฎหมายและเพื่อเป็น
ประโยชน์ในการใช้ประกอบร่าง พ.ร.บ. อนามัย
เจริญพันธุ์ ซึ่งกฎหมายของทั้ง ๓ ประเทศมี
ข้อเหมือนและแตกต่างไปตามบริบททางสังคม
และวัฒนธรรม ฐานคิดของสังคมที่เป็น
ตัวก�ากับและสะท้อนออกมาในตัวบทกฎหมาย
นโยบายและมาตรการ แม้ว่าทั้ง ๓ ประเทศ
จะรับเอามุมมองเรื่องสิทธิมนุษยชน แต่การน�า
แนวคิดนี้มาใช้มีความแตกต่างกันไปตามบริบท
ศาสนา สังคม และวัฒนธรรมซึ่งถูกยกให้มี
ความส�าคัญเหนือกว่าสิทธิมนุษยชน ฐานคิด
ของคนในสังคมของแต่ละประเทศที่ถูกกรอบไว้
ด้วยความคิด ความเชื่อทางศาสนา บรรทัดฐาน
ทางสังคมและวัฒนธรรม และมีอิทธิพลเหนือ
อนุสัญญาต่างๆ ท�าให้ท้ายที่สุด สิทธิของผู้หญิง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนหญิงถูกจ�ากัดและ
ลิดรอน สิ่งที่เหมือนกันของทั้ง ๓ ประเทศ
อีกประการหนึ่งคือ ยังไม่มีความชัดเจนเรื่อง