Page 11 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 11
สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ว่าคือ สิทธิมนุษยชน
และไม่มีกฎหมายอนามัยเจริญพันธุ์ ซึ่งจะช่วย
เติมเต็มการเข้าถึงสิทธิด้านต่างๆ ของ
เยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม เพราะ
อคติของคนในสังคมที่ไม่ยอมรับการตั้งครรภ์
ของเยาวชนหญิง ท�าให้ไม่ได้รับการคุ้มครอง
ทางกฎหมายและการสนับสนุนทางสังคม
ส่งผลให้เยาวชนหญิงเหล่านี้ไม่สามารถเข้าถึง
สิทธิในด้านต่างๆ ของตนได้อย่างเต็มที่
สรุปได้ว่ากฎหมายของ ๓ ประเทศ
ครอบคลุมถึงสิทธิ ได้แก่ สิทธิในการมีชีวิตอยู่
อย่างมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิในการได้รับ
ข้อมูลข่าวสารและการศึกษา สิทธิในการตัดสินใจ
ว่าจะมีบุตรหรือไม่และจะมีเมื่อใด และสิทธิใน
การดูแลและป้องกันสุขภาพ ทว่าไม่พบสิทธิใน
ความเป็นส่วนตัวปรากฏอยู่ในกฎหมายที่น�ามาศึกษา ซึ่งเมื่อเทียบกับรัฐไทยแล้ว สิทธิอนามัย
เจริญพันธุ์และสิทธิมนุษยชนในกฎหมายไทยอาจครอบคลุมไปถึงสิทธิในความเป็นส่วนตัวมากกว่า
ที่เป็นส่วนหนึ่งของการกระท�าให้เยาวชนอับอาย เสื่อมเสีย ซึ่งอยู่ในฐานะความรุนแรงและทารุณกรรม
อย่างหนึ่ง อย่างไรก็ตามไม่สามารถอธิบายได้อย่างชัดเจนว่า กฎหมายของรัฐใดคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
มากกว่าหรือน้อยกว่า มากไปกว่านั้นการบังคับใช้กฎหมายและการเลือกตีความยังขึ้นอยู่เฉพาะกลุ่ม
คนหรือถูกใช้ผ่านบางหน่วยงาน เห็นได้ชัดจากมาตรการต่างๆ ของรัฐผ่านกระทรวง หน่วยงานและ
องค์กรต่างๆ ได้แก่ สภากาชาดไทย สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรีฯ และสมาคมเครือข่ายผู้ปกครอง
แห่งชาติ ที่สามารถตั้งข้อสังเกตได้ว่า ทั้งกระทรวง และสมาคมต่างๆ ต่างมีมาตรการและ
การด�าเนินการที่ไม่ได้มุ่งประเด็นคุ้มครองสิทธิมนุษยชน สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ของเยาวชนหญิง
ที่ตั้งครรภ์อย่างชัดเจนและบรรลุหลักการปฏิญญาสากล กติการะหว่างประเทศ อนุสัญญา แผนปฏิบัติการ
ต่างๆ ที่รัฐได้เป็นสมาชิกหรือภาคี ทว่าพยายามมุ่งขจัดการตั้งครรภ์ของเยาวชนหญิงราวกับเป็น