Page 45 - ตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ไทยเป็นภาคี : จากเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ
P. 45
กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
(International Covenant on Civil and Political Rights – ICCPR)
อารัมภบท
รัฐภาคีแห่งกติกานี้
พิจารณาว่า ตามหลักการที่ได้ประกาศไว้ในกฎบัตรสหประชาชาตินั้น การยอมรับในศักดิ์ศรีแต่ก าเนิดและสิทธิที่
เท่าเทียมกันและไม่อาจเพิกถอนได้ของสมาชิกทั้งปวงของมวลมนุษยชาตินั้นเป็นรากฐานของเสรีภาพ ความยุติธรรม และ
สันติธรรมในโลก
ยอมรับว่า สิทธิเหล่านี้มาจากศักดิ์ศรีแต่ก าเนิดของมนุษย์
ยอมรับว่า ตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน อุดมการณ์ที่ว่าเสรีชนอุปโภคเสรีภาพทางพลเมืองและเสรีภาพ
ทางการเมือง และโดยปราศจากความกลัวและความต้องการนั้นสามารถสัมฤทธิ์ผลหากมีการสร้างสภาวะซึ่งทุกคนจะ
อุปโภคสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง รวมทั้งสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
ถึง พันธกรณีแห่งรัฐบาลภายใต้กฎบัตรสหประชาชาติที่จะส่งเสริมการเคารพและการยอมรับโดยสากลต่อสิทธิ
และเสรีภาพมนุษยชน
ตระหนักว่า ปัจเจกบุคคลซึ่งมีหน้าที่ต่อปัจเจกบุคคลอื่นและต่อประชาคมของตนมีความรับผิดชอบที่จะเพียร
พยายามในการส่งเสริมและการยอมรับสิทธิที่รับรองไว้ในกติกานี้
ลงกันในข้อต่อไปนี้
ภาค ๑
ข้อ ๑
๑. ประชาชนทั้งปวงมีสิทธิในการก าหนดเจตจ านงของตนเอง โดยอาศัยสิทธินั้น ประชาชนจะก าหนดสถานะ
ทางการเมืองของตนอย่างเสรี รวมทั้งด าเนินการอย่างเสรีในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของตน
๒. เพื่อจุดมุ่งหมายของตน ประชาชนทั้งปวงอาจจัดการโภคทรัพย์และทรัพยากรธรรมชาติของตนได้อย่างเสรี
โดยไม่กระทบต่อพันธกรณีใด ๆ อันเกิดจากความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักการ
แห่งผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน และกฎหมายระหว่างประเทศ ประชาชนจะไม่ถูกลิดรอนจากวิถีทางแห่งการยังชีพของตน
ไม่ว่าในกรณีได ๆ
กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีเมื่อ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๓๙ มีผลใช้บังคับ ๓๐ มกราคม ๒๕๔๐ ๑