Page 196 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 196
รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗ 195
ทั้งนี้ ในระหว่างที่ยังไม่มีความชัดเจนว่า รัฐธรรมนูญฉบับต่อไปซึ่งอยู่ระหว่างกระบวนการยกร่าง
รัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ จะบัญญัติให้
กสม. มีอำานาจหน้าที่เกี่ยวกับการเสนอเรื่องหรือฟ้องคดีต่อศาลเป็นไปในทิศทางใด นั้น ปัจจุบันยังคง
มีคำาร้องที่ขอให้ กสม. พิจารณาเสนอเรื่องหรือฟ้องคดีต่อศาลมาเป็นระยะ ซึ่ง กสม. ได้ยึดถือหลักการ
ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเป็นสำาคัญ โดยจะพิจารณาคำาร้องเป็นรายกรณีว่ามีประเด็นเป็น
เรื่องที่กระทบหรือละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่ ในกรณีที่มีประเด็นก็จะพิจารณาจัดทำาข้อเสนอแนะ
เชิงนโยบายต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขเยียวยาปัญหาดังกล่าวไปตามที่เห็นสมควร ในขณะเดียวกัน
๘๕
กสม. ได้จัดทำาข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอำานาจหน้าที่
ในการเสนอเรื่องหรือฟ้องคดีของ กสม. ที่ควรบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ สรุปได้ ดังนี้
ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๕๗
วรรคหนึ่ง (๒) บัญญัติว่า “เสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ
ในกรณีที่เห็นชอบตามที่มีผู้ร้องเรียนว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดกระทบ
ต่อสิทธิมนุษยชนและมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ ตาม
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ” นั้น
ควรบัญญัติใหม่ให้มีลักษณะทำานองเดียวกับผู้ตรวจการแผ่นดินที่เสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ
ได้ในกรณีที่เห็นว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ โดยที่
ไม่จำาเป็นต้องมีผู้ร้องเรียนเรื่องดังกล่าว ตามนัยมาตรา ๒๕๕ วรรคหนึ่ง (๑) เพียงแต่ในกรณีของ
กสม. จะต้องเป็นกรณีที่บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่กระทบต่อสิทธิมนุษยชนด้วย
๘๕ หนังสือสำานักงาน กสม. ด่วนที่สุด ที่ สม ๐๐๐๗/๓๑๒๗ ลงวันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๗