Page 197 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 197
196 รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗
ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
มาตรา ๒๕๗ วรรคหนึ่ง (๓) บัญญัติว่า “เสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็น
ต่อศาลปกครอง ในกรณีที่เห็นชอบตามที่มีผู้ร้องเรียนว่า กฎ คำาสั่ง หรือ
การกระทำาอื่นใดในทางปกครองกระทบต่อสิทธิมนุษยชนและมีปัญหา
เกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติ
จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง” นั้น
ควรบัญญัติใหม่ให้ชัดเจนขึ้น กล่าวคือ ในส่วนที่บัญญัติไว้เดิมว่า “...กฎ คำาสั่ง หรือการกระทำาอื่นใด
ในทางปกครองกระทบต่อสิทธิมนุษยชน...” ควรบัญญัติเป็น “...กฎ คำาสั่ง หรือการกระทำาใด ๆ ในทาง
ปกครองกระทบต่อสิทธิมนุษยชน...” เพื่อให้ กสม. สามารถคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอันเกี่ยวกับ
การกระทำาใด ๆ ในทางปกครองได้ทุกกรณี เนื่องจากที่ผ่านมาศาลปกครองชั้นต้นเคยตีความว่า
คำาว่า “การกระทำาอื่นใดในทางปกครอง” มีความหมายไม่รวมถึงการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานรัฐ
ละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าแต่อย่างใด
ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๕๗
วรรคหนึ่ง (๔) บัญญัติว่า “ฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมแทนผู้เสียหาย เมื่อได้รับการร้องขอ
จากผู้เสียหาย และเป็นกรณีที่เห็นสมควรเพื่อแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็น
ส่วนรวม ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ” นั้น
ควรบัญญัติใหม่ให้ชัดเจนขึ้น กล่าวคือ ในส่วนที่บัญญัติไว้เดิมว่า “เพื่อแก้ไขปัญหาการละเมิด
สิทธิมนุษยชนเป็นส่วนรวม” ควรต่อด้วยข้อความว่า “หรือการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่กระทบ
ต่อประโยชน์สาธารณะ” ทั้งนี้ อาจแก้ไขเงื่อนไขเดิมที่กำาหนดว่า ต้องมีการร้องขอจากผู้เสียหาย
มาเป็น ให้ กสม. สามารถฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรม เพื่อแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็น
ส่วนรวมที่ก่อความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อสาธารณชนหรือประโยชน์สาธารณะได้ โดยไม่ต้องรอให้มี
การร้องขอจากผู้เสียหาย ซึ่งเปรียบเทียบได้กับการดำาเนินคดีอาญาแผ่นดินที่พนักงานอัยการมีอำานาจ
ฟ้องคดีตามกระบวนการทางอาญาได้เองโดยไม่ต้องมีการแจ้งความร้องทุกข์หรือร้องขอจากผู้เสียหาย
แต่อย่างใด