Page 157 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 157
156 รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗
การรับเรื่องร้องเรียน บุคคลใดที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน
สามารถยื่นเรื่องร้องเรียนต่อ กสม. ได้หลายช่องทาง ได้แก่ การร้องเรียนด้วยวาจา
ทางไปรษณีย์ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) โทรศัพท์และโทรสาร โดยต้องระบุรายละเอียด ดังนี้
๑. ชื่อและที่อยู่ของผู้ร้องหรือผู้ทำาการแทน
๒. ข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ อันเป็นเหตุแห่งการกระทำาหรือการละเลยการกระทำาอันเป็นการละเมิด
สิทธิมนุษยชน
๓. ลายมือชื่อของผู้ร้อง หรือผู้ทำาการแทน ที่ได้รับมอบหมายเป็นหนังสือจากผู้มีสิทธิยื่นคำาร้อง
โดยสามารถยื่นที่ สำานักงาน กสม. หรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ หรือจะยื่นต่อกรรมการ
คนใดคนหนึ่ง หรือองค์การเอกชนด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อส่งต่อให้ สำานักงาน กสม. ดำาเนินการ
๑) สถิติเรื่องร้องเรียนรายเดือน
ในปี ๒๕๕๗ กสม. ได้รับเรื่องร้องเรียนที่มีการร้องเรียนว่าถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือมี
การปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม หรือเป็นเรื่องที่ กสม. เห็นสมควรให้มีการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน
รวมทั้งสิ้น จำานวน ๖๘๙ เรื่อง เพิ่มขึ้นจากปี ๒๕๕๖ จำานวน ๗๘ เรื่อง คิดเป็นร้อยละ ๑๒.๗๗
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาเป็นรายเดือน พบว่า เดือนธันวาคมเป็นเดือนที่มีการเพิ่มขึ้นของการรับเรื่อง
ร้องเรียนสูงที่สุด เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันในปีที่ผ่านมา โดยเพิ่มสูงขึ้น ร้อยละ ๗๐ ในขณะที่เดือน
่
มกราคม เป็นเดือนที่มีการรับเรื่องร้องเรียนลดตำาลงที่สุด คือ ลดลงร้อยละ ๓๓.๓๓ รายละเอียดตาม
แผนภูมิที่ ๑
แผนภูมิที่ ๑ จำานวนเรื่องร้องเรียนที่มีการร้องเรียนว่าถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือมีการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม หรือ
เป็นเรื่องที่ กสม. เห็นสมควรให้ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ปี ๒๕๕๖ - ๒๕๕๗
จำนวนเรื่อง
๘๐ จำาแนกเป็นรายเดือน
๖๔
๔๘
๓๒
๑๖
๐
มกราคม กุมภาพันธ มีนาคม เมษายน พฤษภาคม มิถุนายน กรกฎาคม สิงหาคม กันยายน ตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคม
ที่มา : สำานักคุ้มครองสิทธิมนุษยชน สำานักงาน กสม.