Page 156 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 156

รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗ 155











                       ด้านสิทธิมนุษยชน เพราะเห็นว่า เป็นกรณีที่มีมูลและอยู่ในอำานาจหน้าที่ กสม. สามารถแจ้งไปยังบุคคล

                       หรือหน่วยงานที่ถูกอ้างว่าเป็นผู้ละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือผู้เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน
                       ให้ชี้แจงข้อเท็จจริงภายในระยะเวลาที่ กสม. กำาหนด (ตามมาตรา ๒๕)

                           สำาหรับเรื่องร้องเรียนที่เป็นประเด็นเดียวกันกับที่มีการฟ้องคดีต่อศาล  กสม. จะยุติการตรวจสอบ
                       ทั้งนี้ เป็นไปตามมาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒

                       ที่กำาหนดว่า  “ในกรณีที่มีการกระทำาหรือการละเลยการกระทำาอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน และ
                       มิใช่เป็นเรื่องที่มีการฟ้องร้องเป็นคดีอยู่ในศาล หรือที่ศาลพิพากษาหรือมีคำาสั่งเด็ดขาดแล้ว  ให้ กสม.

                       มีอำานาจตรวจสอบและเสนอมาตรการการแก้ไขตามพระราชบัญญัตินี้”  หรือที่เรียกว่า “ยุติการ
                       ตรวจสอบ ตามมาตรา ๒๒”  แต่อาจมีข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือเสนอแนะนโยบายและ

                       กฎหมายต่อรัฐบาลได้
                           นอกจากนี้ พระราชบัญญัติดังกล่าวได้กำาหนดอำานาจหน้าที่ของ กสม. เกี่ยวกับการไกล่เกลี่ย

                       ในกรอบของการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ไว้ในมาตรา ๒๗ ว่า “ในระหว่างการพิจารณาตรวจสอบการละเมิด
                       สิทธิมนุษยชน  ถ้า กสม. เห็นว่า อาจดำาเนินการไกล่เกลี่ยได้ ให้ดำาเนินการไกล่เกลี่ยบุคคลหรือหน่วยงาน

                       ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้คู่กรณีทำาความตกลงเพื่อประนีประนอมและแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน
                       เมื่อคู่กรณียินยอมและการตกลงอยู่ในกรอบของการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ให้จัดให้มีการจัดทำาข้อตกลง

                       ระหว่างคู่กรณีเป็นหนังสือไว้และให้ยุติเรื่อง”  อย่างไรก็ตาม หากปรากฏภายหลังว่ามีการปฏิบัติที่ไม่
                       เป็นไปตามข้อตกลงดังกล่าว ให้ กสม. พิจารณาตรวจสอบตามอำานาจหน้าที่ต่อไป  นอกจากนี้ ในการ

                       ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน  กสม. มีอำานาจออกหนังสือเรียกบุคคล นิติบุคคล หรือหน่วยงาน
                       เอกชนที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำาหรือให้ส่งวัตถุ เอกสาร หรือพยานหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องได้  แต่หากกรณี

                       ผู้ถูกเรียกไม่มาให้ถ้อยคำา หรือไม่ส่งวัตถุเอกสาร หรือพยานหลักฐานที่ กสม. เรียกหรือสั่งให้ส่งมานั้น มีการ
                       กำาหนดบทลงโทษไว้ในมาตรา ๓๔ แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒

                       ว่าต้องระวางโทษจำาคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำาทั้งปรับ
                           หลังจาก กสม. ตรวจสอบเสร็จสิ้นแล้ว และเห็นว่ามีการกระทำาหรือการละเลยการกระทำาอันเป็น

                       การละเมิดสิทธิมนุษยชน  กสม. จะจัดทำารายงานผลการตรวจสอบ ซึ่งระบุรายละเอียดข้อเท็จจริง
                       เกี่ยวกับพฤติการณ์แห่งการละเมิดสิทธิมนุษยชน เหตุผลที่มีความเห็นดังกล่าว และมาตรการการแก้ไข

                       ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน  โดยกำาหนดระยะเวลาในการดำาเนินการตามมาตรการดังกล่าว และ
                       ในการกำาหนดมาตรการการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนดังกล่าว กสม. อาจกำาหนดให้บุคคล

                       หรือหน่วยงานดำาเนินการตามอำานาจหน้าที่ด้วยวิธีใดที่เห็นเหมาะสม  เพื่อป้องกันมิให้มีการละเมิด
                       สิทธิมนุษยชนในลักษณะทำานองเดียวกันอีกก็ได้  และในกรณีที่ กสม. เห็นว่า การกระทำาหรือละเลย

                       การกระทำาดังกล่าวไม่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน  แต่มีการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมซึ่งสมควรแก่การ
                       แก้ไขเยียวยาความเสียหายให้กับผู้ถูกกระทำา  กสม. อาจกำาหนดแนวทางแก้ไขเพื่อแจ้งให้บุคคลหรือ

                       หน่วยงานดำาเนินการตามความเหมาะสมภายใต้อำานาจหน้าที่ของบุคคลหรือหน่วยงานนั้นได้
   151   152   153   154   155   156   157   158   159   160   161