Page 155 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 155
154 รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗
ตามมาตรา ๑๕ (๒) แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ กสม.
มีอำานาจหน้าที่ในการตรวจสอบและรายงานการกระทำาหรือการละเลยการกระทำาอันเป็นการละเมิด
สิทธิมนุษยชน หรืออันไม่เป็นตามพันธกรณีระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี
และเสนอมาตรการการแก้ไขที่เหมาะสมต่อบุคคล หรือหน่วยงานที่กระทำา หรือละเลยการกระทำาดังกล่าว
เพื่อดำาเนินการในกรณีที่ปรากฏว่าไม่มีการดำาเนินการตามที่เสนอ ให้รายงานต่อรัฐสภาเพื่อดำาเนินการต่อไป
การดำาเนินการตามอำานาจหน้าที่ดังกล่าว กสม. สามารถตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ทั้งจาก
การร้องเรียนของผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือผู้ทำาการแทน ซึ่งอาจร้องเรียนได้โดยตรงหรือร้องเรียน
ผ่านองค์การเอกชนด้านสิทธิมนุษยชน หรือจากการเสนอเรื่องขององค์การดังกล่าวที่พบการละเมิด
สิทธิมนุษยชน และพิจารณาเบื้องต้นแล้วว่า กรณีมีมูลหรือเป็นกรณีที่ กสม. เห็นสมควรให้มีการ
ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้ กรณีเรื่องร้องเรียนใดเป็นเรื่องที่ไม่ครบองค์ประกอบตาม
มาตรา ๒๓ แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ กสม. จะไม่รับไว้
เป็นคำาร้อง แต่จะมอบหมายให้ สำานักงาน กสม. ดำาเนินงานประสานการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนตาม
มาตรา ๑๘ (๔) แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ เพื่อแสวงหา
ทางออกของปัญหาร่วมกัน และก่อให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีต่อกันระหว่างผู้ร้อง ผู้ถูกร้อง รวมทั้งหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้อง
โดยที่การตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือการกระทำาที่ไม่เป็นธรรม เป็นอำานาจของ
กสม. ตามหมวด ๓ แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งได้กำาหนด
การพิจารณาตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนของ กสม. ไว้ว่า เมื่อ กสม. เห็นสมควรให้มีการตรวจ
สอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกรณีใด หรือกรณีที่ได้รับการร้องเรียน หรือได้รับเรื่องจากองค์การเอกชน