Page 14 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 14
รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗ 13
บทสรุป
การประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี ๒๕๕๗
ภารกิจการจัดทำารายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนประจำาปีของประเทศไทย
เป็นหนึ่งในภารกิจสำาคัญของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ซึ่งบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๕๗ วรรคหนึ่ง (๘) และพระราชบัญญัติ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๕ (๖) โดยกำาหนดให้ กสม. จัดทำา
รายงานประจำาปีเพื่อประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนภายในประเทศเสนอต่อรัฐสภาและ
คณะรัฐมนตรี พร้อมทั้งให้เปิดเผยต่อสาธารณชน
ในการจัดทำารายงานประจำาปี ๒๕๕๗ ฉบับนี้ กสม. ได้รวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง และคัดเลือก
ประเด็นจากสถานการณ์สำาคัญซึ่งเป็นที่สนใจอย่างกว้างขวาง ทั้งจากหน่วยงานของรัฐ และเอกชน
สื่อมวลชน สาธารณชน ตลอดจนประชาคมระหว่างประเทศ และ/หรือเห็นว่ามีผลอย่างสำาคัญต่อ
การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศ รวมถึงเรื่องที่ กสม. ได้ดำาเนินงานที่เกี่ยวข้องใน
ประเด็นต่าง ๆ เหล่านั้น ทั้งจากการจัดทำารายงาน การตรวจสอบ หรือการจัดทำาข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไข
ปัญหาไปยังรัฐบาล หน่วยงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องแล้ว นำามาวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินสถานการณ์
ในด้านต่าง ๆ โดยมีเกณฑ์หรือมาตรฐานหลักในการประเมิน ทั้งนี้ ด้วยความตั้งมั่นในบริบทของการจัดทำา
รายงานที่เสนอข้อมูลที่เป็นกลาง ปราศจากอคติ หรือมีข้อกังขาเกี่ยวกับที่มาของข้อมูลให้มากที่สุด
กสม. ได้ใช้ข้อมูลปฐมภูมิที่ได้จากการปฏิบัติงานโดยตรง ทั้งจากการติดตามตรวจสอบกรณีร้องเรียน หรือ
การปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเป็นสำาคัญ นอกจากนี้ ยังได้รวบรวมข่าวสารและรายงานสถานการณ์
จากแหล่งต่าง ๆ โดยสอบทานความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง เพื่อประกอบ
การจัดทำารายงาน
รายงานฉบับนี้ ครอบคลุมมิติสิทธิมนุษยชนทั้งหมด ๙ ด้านหลัก ๆ ได้แก่ สิทธิพลเมืองและ
สิทธิทางการเมือง สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม สิทธิในกระบวนการยุติธรรม สิทธิชุมชน
สิทธิด้านที่ดินและป่า สิทธิเด็ก สตรี และความเสมอภาคทางเพศ สิทธิผู้สูงอายุ คนพิการ และ
การสาธารณสุข สิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์และสถานะบุคคล และสิทธิมนุษยชนในพื้นที่จังหวัดชายแดน
ภาคใต้ ทั้งนี้ เป็นไปตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี ยุทธศาสตร์
และกรอบการดำาเนินงานของ กสม. ระหว่างปี ๒๕๕๓ - ๒๕๕๘ และประเด็นหลัก ๆ ที่ประชาชนให้
ความสำาคัญ โดยมิติเหล่านี้จะทับซ้อน เชื่อมโยง และเกี่ยวพันกันในลักษณะต่าง ๆ
รายงานฉบับนี้ สะท้อนสถานการณ์ความรุนแรง และการเปลี่ยนผ่านในปรากฏการณ์การเมือง
การปกครอง และกระบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม ซึ่งเชื่อมโยงถึงข้อเรียกร้องจากสถานการณ์การชุมนุม
อย่างยาวนาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปฏิรูปประเทศซึ่งที่ผ่านมาได้มีความพยายามแก้ไขปัญหาความ
้
เหลื่อมลำาที่เป็นสาเหตุสำาคัญของความไม่เท่าเทียมกันมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๓ ซึ่งล้วนเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง
ที่เชื่อมโยงกันอย่างซับซ้อน และมีความสัมพันธ์กับสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคลและชุมชน เช่น สิทธิ
่
ในการดำารงชีพตามมาตรฐานขั้นตำาที่เหมาะสม สิทธิในสุขภาพ สิทธิในการศึกษา และสิทธิในการทำางาน
เป็นต้น