Page 15 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 15
บทนำ� บ
ทที่ ๑
๑.๑ คว�มเป็นม�และคว�มสำ�คัญของร�ยง�น
ปัญหาอาชญากรรมมีควบคู่กับสังคมไทยและทั่วโลกมาเป็นเวลานาน
และมาตรการหนึ่งในการป้องกันและยับยั้งอาชญากรรมของสังคมทั่วโลกนับตั้งแต่
อดีตมาสู่ปัจจุบัน คือ การลงโทษประหารชีวิต อันมีวัตถุประสงค์สำาคัญเพื่อมุ่งเน้น
การตัดโอกาสผู้กระทำาผิด การแก้แค้นทดแทน และการยับยั้งอาชญากรรมในสังคม
เป็นสำาคัญ ซึ่งรูปแบบของการประหารชีวิตในอดีตของประเทศต่าง ๆ รวมทั้งประเทศไทย
มักมีลักษณะที่มีความโหดร้ายทารุณเพื่อตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ของการลงโทษ คือ
การแก้แค้นทดแทนเป็นสำาคัญ หากแต่ปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้มุ่งเน้นการลงโทษ
ผู้กระทำาผิดเพื่อการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำาผิดให้สามารถกลับคืนสู่สังคมเป็นทรัพยากรบุคคล
ที่มีคุณค่าของสังคม รวมทั้งกระแสของการให้ความคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประชาชน
ในสังคมที่มีมากขึ้น อันส่งผลให้ประเทศต่าง ๆ ส่วนใหญ่ทั่วโลกได้มีการยกเลิกโทษประหาร
ชีวิต รวมทั้ง แม้หากจะยังคงโทษประหารชีวิต แต่ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบของ
การประหารชีวิตให้มีวิธีการที่มีมนุษยธรรมมากขึ้น
ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการใช้โทษประหารชีวิตมาเป็นระยะเวลานาน
นอกจากนี้ ปัจจุบันประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ยังคงมีโทษประหารชีวิต
เป็นโทษสูงสุดสำาหรับลงโทษผู้กระทำาผิดในคดีร้ายแรง เพียงแต่ได้มีการปรับเปลี่ยน
รูปแบบของการประหารชีวิตให้มีความนุ่มนวลมากขึ้น โดยเปลี่ยนจากรูปแบบ
ของการประหารชีวิตในอดีตที่มีความโหดร้ายทารุณ อาทิ การประหารชีวิตด้วยการตัด
ศีรษะ การยิงเป้า ไปสู่รูปแบบการประหารชีวิตด้วยการฉีดสารพิษในปี พ.ศ. ๒๕๔๖
2 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ