Page 10 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 10
เรื่องการยกเลิกโทษประหารชีวิตเข้าไปเป็นนโยบายของฝ่ายการการเมือง รัฐบาล รัฐสภา และองค์กร
ภาครัฐ และควรมีการศึกษาและปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับโทษประหารชีวิต
ข้อเสนอแนะเชิงยุทธศาสตร์ระยะสั้น ได้แก่ การผลักดันให้แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๕๗ – ๒๕๖๑) ที่รัฐบาลประกาศอย่างเป็นทางการให้บรรจุตัวชี้วัดต่อความสำาเร็จ
ในการดำาเนินการให้มีการยกเลิกโทษประหารชีวิต รวมทั้งการเรียกร้องให้รัฐบาลไทยลงมติ
“งดออกเสียง” หรือ “เห็นชอบ” ในการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติในข้อมติเกี่ยวกับ
การพักการใช้โทษประหารชีวิต ซึ่งจะมีขึ้นในครั้งต่อไปใน พ.ศ. ๒๕๕๗
ข้อเสนอแนะเชิงยุทธศาสตร์ระยะกลาง ได้แก่ เรียกร้องให้รัฐบาลไทยให้สัตยาบันรับรอง
พิธีสารเลือกรับฉบับที่สองของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
การยกเลิกโทษประหารชีวิตในคดีบางประเภทคดี และผลักดันให้รัฐบาลเร่งปฏิรูประบบเรือนจำา
ให้สามารถรองรับนักโทษประหาร ถ้าจะต้องเปลี่ยนเป็นโทษจำาคุกตลอดชีวิต
ข้อเสนอแนะเชิงยุทธศาสตร์ระยะยาว ได้แก่ การเรียกร้องให้ทุกฝ่ายดำาเนินการให้มีการพัก
การใช้โทษประหารชีวิตในทางปฏิบัติ เพื่อให้มีการพักการใช้โทษประหารชีวิตในทางปฏิบัติจริง
และดำาเนินการผลักดันให้มีการยกเลิกโทษประหารชีวิตในความผิดทุกประเภทและในกฎหมายของไทย
ทุกฉบับ
แนวทางการยกเลิกโทษประหารชีวิตในประเทศไทย ประกอบด้วย การให้การศึกษาอบรม
เพื่อให้ความรู้และปรับเปลี่ยนทัศนคติของประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ให้ปรับเปลี่ยนทัศนคติ
ต่อต้านการยกเลิกโทษประหารชีวิต ไปสู่ทัศนคติที่เป็นกลาง และทัศนะที่เห็นด้วยกับการยกเลิก
โทษประหารชีวิตในที่สุด รวมทั้งการผลักดันให้มีการนำามาตรการที่จะนำาไปสู่การยกเลิก
โทษประหารชีวิตโดยดำาเนินการแบบค่อยเป็นค่อยไป ทีละขั้นตอน เพื่อลดการต่อต้านการยกเลิก
โทษประหารชีวิต และการผลักดันให้มีการปรับปรุงระบบยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพในการบังคับ
ใช้กฎหมายในการลงโทษผู้กระทำาผิดด้วยความรวดเร็วและแน่นอน ดำาเนินการคู่ขนานไปกับ
มาตรการยกเลิกโทษประหารชีวิต
ฌ