Page 17 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 17
ต�ร�งที่ ๒ สถิติจำ�นวนผู้ถูกประห�รชีวิตด้วยก�รฉีดส�รพิษ จำ�แนก
ต�มประเภทคดี ระหว่�งปี พ.ศ. ๒๕๔๗ - ๒๕๕๒
ประเภทคดี จำ�นวน (คน)
พระราชบัญญัติยาเสพติด ๕
ฆ่าคนตายโดยเจตนา เจตนาพยาบาท ๑
ที่มา : กองแผนงาน กรมราชทัณฑ์ (๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๒)
สำาหรับข้อมูลของนักโทษประหารชีวิตของประเทศไทยในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ปรากฏว่า
มีบันทึกการตัดสินประหารชีวิตอย่างน้อย ๑๐๖ คดี เมื่อสิ้นปี พ.ศ. ๒๕๕๕ มีนักโทษประหารชีวิต
จำานวน ๖๕๐ คน และเมื่อเดือนกันยายน ๒๕๕๖ มีนักโทษประหาร จำานวน ๗๑๒ คน โดยนักโทษ
ประหารจำานวนมากกว่าครึ่งเป็นนักโทษประหารชีวิตที่ต้องโทษในคดีที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด
ซึ่งปี พ.ศ. ๒๕๕๖ นับเป็นปีที่ ๔ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ที่ไม่มีการประหารชีวิตในประเทศไทย
(กองแผนงาน กรมราชทัณฑ์, ๒๕๕๖)
อย่างไรก็ตาม สืบเนื่องจากในช่วงหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา หลายประเทศทั่วโลกต่างมีการ
ทบทวนเรื่องการยกเลิกโทษประหารชีวิต หรือการพักการประหารชีวิต (Moratorium) ตามมติ
ที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ เนื่องจากโทษประหารชีวิตเป็นการตัดขาดบุคคลที่กระทำาผิด
ออกจากสังคมอย่างถาวร และเป็นการลงโทษที่ปฏิเสธสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานสำาหรับบุคคล
โดยในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ประเทศสมาชิกสหประชาชาติได้ยกเลิกโทษประหารชีวิตแล้ว
๑๔๐ ประเทศ ได้แก่
• ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปทั้งหมด (ยกเว้นประเทศเบลารุสเท่านั้น)
• ทวีปอเมริกาเกือบทั้งหมด (ยกเว้นประเทศสหรัฐอเมริกา รัฐต่าง ๆ ส่วนใหญ่ยังคง
มีโทษประหารชีวิต โดยมีบางรัฐได้ยกเลิกโทษประหารชีวิต หรือหยุดการลงโทษ
ประหารชีวิต)
• ประเทศในภูมิภาคอื่น ๆ ได้ยกเลิกโทษประหารชีวิต หรือมีแนวโน้มที่จะยกเลิก
โทษประหารชีวิต
• ประเทศที่ยังคงมีโทษประหารชีวิตมีจำานวน ๕๘ ประเทศ ซึ่งประเทศที่ยังคง
มีโทษประหารชีวิต ปรากฏว่า มีประเทศจำานวนไม่ถึงครึ่งหนึ่งมีการนำาโทษประหารชีวิต
มาใช้จริง ได้แก่ ประเทศในแอฟริกา เอเชีย ประเทศในตะวันออกกลาง รวมทั้ง
ประเทศไทย
4 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ