Page 18 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 18
ที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ได้มีมติเมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๕๐ และอีกครั้ง
ในปี พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยมีมติให้ทุกประเทศทั่วโลกงดเว้นโทษประหารชีวิต เพื่อเป็นหนทางนำาไปสู่
การยกเลิกโทษประหารชีวิตในที่สุด ถึงแม้มติดังกล่าวไม่ได้เป็นการบังคับ แต่กลับส่งผลเชิง
ศีลธรรมอย่างมาก (มติที่ ๖๒๐๑๔๙ ว่าด้วยการยกเลิกโทษประหารชีวิต)
ประเทศไทยในฐานะสมาชิกขององค์การสหประชาชาติจำาต้องพิจารณาถึงปฏิญญาสากล
ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ ๕
“บุคคลใดจะถูกทรมาน หรือได้รับการปฏิบัติ
หรือการทารุณซึ่งโหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือย่ำายีศักดิ์ศรีไม่ได้”
และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ประกอบกับ
การพิจารณาให้สัตยาบันพิธีสารเลือกรับ ฉบับที่ ๑ และ ๒ แห่งกติการะหว่างประเทศว่าด้วย
สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ว่าด้วยการยอมรับการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน
และการพัฒนากฎหมายที่จะยกเลิกโทษประหารชีวิต โดยเชื่อว่าการยกเลิกโทษประหารชีวิต
มีส่วนส่งเสริมการเคารพชีวิตมนุษย์และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ บุคคลภายใต้บทบัญญัติ
แห่งกฎหมายของรัฐภาคีในพิธีสารฉบับนี้ไม่ควรที่จะต้องโทษประหารชีวิต ดังนั้น การประหารชีวิต
จึงเป็นการลงโทษที่ปฏิเสธสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน อันเป็นสิ่งสำาคัญของการมีชีวิต กล่าวคือ
“ สิทธิในการมีชีวิต ” ซึ่งได้รับการรับรองไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
สำาหรับประเทศไทย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๔
บัญญัติว่า
“ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ
และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับการคุ้มครอง ”
และมาตรา ๓๒ บัญญัติว่า
“ บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย ”
หากแต่ปัจจุบันประเทศไทยยังคงมีการใช้โทษประหารชีวิตเป็นโทษสูงสุดในการลงโทษ
ผู้กระทำาผิด จึงเป็นประเด็นที่น่าสนใจยิ่งว่าในขณะที่ประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลกได้มีการยกเลิกการใช้
โทษประหารชีวิต แต่เหตุใดประเทศไทยจึงยังคงใช้โทษประหารชีวิต มีแนวทางหรือมาตรการอย่างไร
ที่จะมีการยกเลิกโทษประหารชีวิตในประเทศไทย เพื่อทำาให้ประเทศไทยสามารถปฏิบัติตามมาตรฐาน
สิทธิมนุษยชนสากล รวมทั้งแนวทางในการปฏิบัติต่อผู้กระทำาผิดได้อย่างเหมาะสมเทียบเท่า
นานาอารยประเทศ
โทษประหารชีวิตในประเทศไทย 5