Page 4 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 4
คำานำา
รัฐบาลไทยมีพันธกรณีระหว่างประเทศที่ต้องเสนอรายงานการดำาเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน
เพื่อเสนอต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ และคณะกรรมการประจำาสนธิสัญญา
สิทธิมนุษยชนเฉพาะด้าน ที่มีหน้าที่ติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชน
การเสนอรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนนี้จะช่วยให้รัฐบาลได้ประเมินตัวเองว่า ได้ดำาเนินการ
คุ้มครองสิทธิมนุษยชนได้มีประสิทธิภาพเพียงใด และยังมีส่วนที่จะต้องแก้ไขอย่างไร ในการดำาเนิน
การพิจารณารายงานนั้น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) มีอำานาจหน้าที่จัดทำารายงาน
คู่ขนาน (Alternative Report) เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการที่มีอำานาจพิจารณารายงานของรัฐบาล
นอกจากนั้น กสม. ยังมีหน้าที่จัดทำารายงานประจำาปีเพื่อประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนภายใน
ประเทศเสนอต่อรัฐสภา อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาการจัดทำารายงานยังขาดเครื่องมือที่เป็นมาตรฐาน
เพื่อใช้ในการประเมินและตรวจสอบการดำาเนินงานของรัฐบาล
ปัญหาสำาคัญประการหนึ่งในการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชน ก็คือ การที่รายงานไม่ได้
ให้ข้อมูลที่ตรงกับประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชน ทั้งนี้ เนื่องจากความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับขอบเขตเนื้อหา
สาระของสิทธิมนุษยชน และพันธะหน้าที่ของรัฐที่มีต่อสิทธิแต่ละประเภท เป็นเพราะสิทธิมนุษยชน
หลายด้านมีลักษณะเป็นเกณฑ์ที่เป็นบรรทัดฐาน หรือปทัสถาน (Normative Rules) นอกจากนั้น
สิทธิมนุษยชนหลายประเภท โดยเฉพาะสิทธิด้านเศรษฐกิจและสังคมยังมีลักษณะเป็นสัมพัทธภาพ
(Relativity) ซึ่งการปรับใช้เกณฑ์มาตรฐานระหว่างประเทศจะขึ้นอยู่กับสภาพทางเศรษฐกิจ สังคม และ
วัฒนธรรมที่แตกต่างกันของแต่ละประเทศ
ดังนั้น ใน พ.ศ. ๒๕๕๔ ศาสตราจารย์ อมรา พงศาพิชญ์ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชน
แห่งชาติ จึงได้มีดำาริให้จัดทำาโครงการศึกษา เรื่อง “การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตาม
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน” ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดทำาตัวชี้วัดด้านสิทธิมนุษยชน
ตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน เพื่อให้เป็นเครื่องมือในการตรวจสอบและประเมิน
สถานการณ์สิทธิมนุษยชน โดยได้ว่าจ้างศูนย์กฎหมายสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัย
สุโขทัยธรรมาธิราช เป็นที่ปรึกษาโครงการตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนตามปฏิญญาสากลว่าด้วย
สิทธิมนุษยชนที่พัฒนาขึ้นตามโครงการนี้ ได้ดำาเนินการตามแนวทางที่สำานักงานข้าหลวงใหญ่
สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office of the High Commissioner for
Human Rights) ได้แนะนำาไว้ เพื่อให้มีความน่าเชื่อถือนำาไปปฏิบัติได้และสอดคล้องกับสิทธิมนุษยชน
ที่มีลักษณะสากล ขณะเดียวกันก็พัฒนาขึ้นจากประสบการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในบริบทของ