Page 68 - คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจตามหลักสิทธิมนุษยชน
P. 68

คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำารวจตามหลักสิทธิมนุษยชน




                                (๗)  ถ้าค้นที่อยู่หรือสำานักงานของผู้ต้องหา
          หรือจำาเลยซึ่งถูกควบคุมหรือขังอยู่ ให้ทำาต่อหน้าผู้นั้น แต่ถ้าผู้นั้นไม่สามารถ

          หรือไม่ติดใจมากำากับการตรวจค้น จะตั้งผู้แทนหรือให้พยานมากำากับ
          แทนก็ได้ ถ้าไม่มีก็ให้ค้นต่อหน้าบุคคลในครอบครัวหรือต่อหน้าพยานตาม
          ข้อ (๖)

                                (๘)  ในกรณีค้นหาสิ่งของที่หาย ถ้าพอทำาได้
          จะให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองสิ่งของนั้นหรือผู้แทนไปกับเจ้าพนักงานผู้ค้น
          ด้วยก็ได้

                                (๙)  ในการค้นนั้นต้องพยายามมิให้สิ่งของ
          กระจัดกระจายและทรัพย์สินเสียหายเท่าที่จะทำาได้

                              (๑๐)  การค้นในที่รโหฐานต้องค้นเพื่อหาตัวคน
          หรือสิ่งของที่ต้องการค้นเท่านั้น เว้นแต่มีข้อยกเว้นตามกฎหมาย

                              (๑๑)   ถ้ามีเจ้าของหรือคนอยู่ในนั้นหรือผู้รักษา
          สถานที่ซึ่งจะค้นไม่ยินยอมให้เข้าไป ก็มีอำานาจใช้กำาลังเพื่อเข้าไป แต่จะเปิด
          หรือทำาลายประตูบ้าน ประตูเรือน หน้าต่าง รั้ว หรือสิ่งกีดขวางอย่างอื่น
          ต้องเป็นกรณีที่จำาเป็นเท่านั้น

                              (๑๒)  ถ้ามีเหตุอันควรสงสัยว่า บุคคลซึ่งอยู่ในที่
          ซึ่งค้นหรือจะถูกค้น จะขัดขวางถึงกับทำาให้การค้นไร้ผล เจ้าพนักงานผู้ค้น
          มีอำานาจเอาตัวผู้นั้นไปควบคุมไว้หรือให้อยู่ในความดูแลของเจ้าพนักงาน

          ในขณะที่ทำาการค้นได้เท่าที่จำาเป็น เพื่อมิให้ขัดขวางถึงกับทำาให้การค้นไร้ผล
          หรือถ้ามีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลดังกล่าวได้เอาสิ่งของที่ต้องการ พบ
          ซุกซ่อนในร่างกาย ก็ให้มีอำานาจค้นตัวผู้นั้นได้

                              (๑๓)  สิ่งของซึ่งยึดได้ในการค้น ให้ห่อหรือบรรจุ
          หีบห่อตีตราไว้ หรือให้ทำาเครื่องหมายไว้เป็นสำาคัญ โดยให้ทำาบันทึกรายละเอียด
          แห่งการค้นและทำาบัญชีรายละเอียดไว้



                                       44
   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73