Page 39 - คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจตามหลักสิทธิมนุษยชน
P. 39

สำ�นักง�นคณะกรรมก�รสิทธิมนุษยชนแห่งช�ติ




            กฎหมายรัฐธรรมนูญให้สิทธิเสรีภาพแก่ปวงชนชาวไทยไว้ ไม่สามารถ
            ที่จะละเมิดหรือ จำากัดสิทธิเสรีภาพดังกล่าวนั้นได้


                             ๑.๔.๒.๑  ประมวลกฎหมายอาญา เป็นกฎหมาย
            ที่บัญญัติไว้เกี่ยวกับการกระทำาใดเป็นความผิดทางอาญา ซึ่งถือเป็น
            การละเมิดสิทธิของผู้อื่นอย่างหนึ่งเช่นกัน ดังนั้นในทุกมาตราที่เป็นการกระทำา

            ความผิดตามประมวลกฎหมายนี้จึงมีโทษควบคู่ไปด้วย ถือเป็นการคุ้มครอง
            สิทธิมนุษยชนที่สอดคล้องกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ
                             เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
            กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. ๑๒๗ ได้ประกาศใช้มานานแล้วและได้มีการ
            แก้ไขเพิ่มเติมอยู่หลายแห่งกระจัดกระจายกันอยู่ จึงเป็นการสมควรที่จะได้

            ชำาระสะสาง และนำาเข้ารูปเป็นประมวลกฎหมายอาญาเสียในฉบับเดียวกัน
                             อนึ่ง ปรากฏว่าหลักการบางอย่างและวิธีการลงโทษ
            บางอย่างควรจะได้ปรับปรุงให้สมกับกาลสมัยและแนวนิยมของนานาประเทศ

            ในสมัยปัจจุบันหลักเดิมบางประการจึงล้าสมัย สมควรจะได้ปรับปรุงเสีย
            ให้สอดคล้องกับหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

                             ๑.๔.๒.๒  ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
            เป็นกฎหมายที่ให้อำานาจแก่เจ้าพนักงานในการที่จะไปละเมิดสิทธิของผู้อื่น

            เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของส่วนรวม เช่น การจับ การค้น การควบคุม
            เป็นต้น แต่เจ้าพนักงานนั้นก็ไม่สามารถจะดำาเนินการเกินกว่าที่กฎหมายนี้
            ให้อำานาจไว้ได้
                             เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
            เนื่องด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๗๕ กำาหนดให้

            สำานักงานศาลยุติธรรมเป็นหน่วยงานอิสระขึ้นตรงต่อประธานศาลฎีกา
            และโดยที่พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕
            ได้กำาหนดให้สำานักงานอัยการสูงสุดเป็นส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชา



                                          15
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44