Page 35 - คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจตามหลักสิทธิมนุษยชน
P. 35
สำ�นักง�นคณะกรรมก�รสิทธิมนุษยชนแห่งช�ติ
มาตรา ๓๖ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการ
สื่อสารถึงกันโดยทางที่ชอบด้วยกฎหมาย
การตรวจ การกัก หรือการเปิดเผยสิ่งสื่อสาร
ที่บุคคลมีติดต่อถึงกัน รวมทั้งการกระทำาด้วยประการอื่นใดเพื่อให้ล่วงรู้ถึง
ข้อความในสิ่งสื่อสารทั้งหลายที่บุคคลมีติดต่อถึงกัน จะกระทำามิได้เว้นแต่
โดยอาศัยอำานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคง
ของรัฐ หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
มาตรา ๓๗ บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์
ในการถือศาสนา นิกายของศาสนา หรือลัทธินิยมในทางศาสนา และย่อมมี
เสรีภาพในการปฏิบัติตามศาสนธรรม ศาสนบัญญัติ หรือปฏิบัติพิธีกรรม
ตามความเชื่อถือของตน เมื่อไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมือง
และไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
ในการใช้เสรีภาพตามวรรคหนึ่ง บุคคล
ย่อมได้รับความคุ้มครองมิให้รัฐกระทำาการใดๆ อันเป็นการรอนสิทธิหรือ
เสียประโยชน์อันควรมีควรได้ เพราะเหตุที่ถือศาสนา นิกายของศาสนา
ลัทธินิยมในทางศาสนา หรือปฏิบัติตามศาสนธรรม ศาสนบัญญัติ หรือปฏิบัติ
พิธีกรรมตามความเชื่อถือ แตกต่างจากบุคคลอื่น
มาตรา ๓๘ การเกณฑ์แรงงานจะกระทำามิได้
เว้นแต่โดยอาศัยอำานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อประโยชน์
ในการป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะอันมีมาเป็นการฉุกเฉิน หรือโดยอาศัย
อำานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายซึ่งให้กระทำาได้ในระหว่างเวลาที่ประเทศ
อยู่ในภาวะสงครามหรือการรบ หรือในระหว่างเวลาที่มีประกาศสถานการณ์
ฉุกเฉินหรือประกาศใช้กฎอัยการศึก
11