Page 36 - คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจตามหลักสิทธิมนุษยชน
P. 36
คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำารวจตามหลักสิทธิมนุษยชน
๔) ส่วนที่ ๔ สิทธิในกระบวนการยุติธรรม
มาตรา ๓๙ บุคคลไม่ต้องรับโทษอาญา
เว้นแต่ได้กระทำาการอันกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำานั้นบัญญัติ
เป็นความผิดและกำาหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่บุคคลนั้นจะหนักกว่า
โทษที่กำาหนดไว้ในกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำาความผิดมิได้
ในคดีอาญาต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่า
ผู้ต้องหาหรือจำาเลยไม่มีความผิดก่อนมีคำาพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่า
บุคคลใดได้กระทำาความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำา
ความผิดมิได้
มาตรา ๔๐ บุคคลย่อมมีสิทธิในกระบวนการ
ยุติธรรมดังต่อไปนี้
(๑) สิทธิเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้
โดยง่าย สะดวก รวดเร็ว และทั่วถึง
(๒) สิทธิพื้นฐานในกระบวนพิจารณา
ซึ่งอย่างน้อยต้องมีหลักประกันขั้นพื้นฐานเรื่องการได้รับการพิจารณา
โดยเปิดเผย การได้รับทราบข้อเท็จจริงและตรวจเอกสารอย่างเพียงพอ
การเสนอข้อเท็จจริง ข้อโต้แย้ง และพยานหลักฐานของตน การคัดค้าน
ผู้พิพากษาหรือตุลาการ การได้รับการพิจารณาโดยผู้พิพากษาหรือตุลาการ
ที่นั่งพิจารณาคดีครบองค์คณะ และการได้รับทราบเหตุผลประกอบคำาวินิจฉัย
คำาพิพากษา หรือคำาสั่ง
(๓) บุคคลย่อมมีสิทธิที่จะให้คดี
ของตนได้รับการพิจารณาอย่างถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรม
(๔) ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา โจทก์ จำาเลย
คู่กรณี ผู้มีส่วนได้เสีย หรือพยานในคดี มีสิทธิได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสม
ในการดำาเนินการตามกระบวนการยุติธรรม รวมทั้งสิทธิในการได้รับ
12