Page 132 - พระมหากษัตริย์กับงานสิทธิมนุษยชน
P. 132
ที่จะมีความเป็นอยู่อย่างเป็นสุขตามอัตภาพ ไม่แร้นแค้นขัดสน ด้วยนำ้าพระราชหฤทัยที่มีพระเมตตาต่อ
ประชาชนอย่างแท้จริง ทรงหาวิถีทางที่จะปลดเปลื้องความทุกข์ของราษฎรผู้ยากไร้ พระราชกรณียกิจ
ทุกประการและโครงการต่างๆ นับพันโครงการ ทั้งที่เป็นโครงการส่วนพระองค์
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำาริ โครงการตามพระราชประสงค์ โครงการหลวง และโครงการ
อื่นๆ ทั้งมวลล้วนมุ่งหมายเพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนที่เป็นผู้ด้อยโอกาสและผู้ที่มีฐานะ
ยากจนให้มีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ให้ดำารงตนได้อย่างเป็นสุขทัดเทียมผู้อื่น เมื่อประชาชนมีความ
เป็นอยู่ที่ดี มีทางทำามาหากินเลี้ยงตนได้ตามอัตภาพ ความเหลื่อมลำ้าทางเศรษฐกิจหมดหรือบรรเทาไป
ประชาชนทุกคนก็จะสามารถแสดงศักยภาพของตนได้เต็มที่ สามารถแสดงความคิดเห็นเป็นตัวของ
ตัวเอง ได้โดยไม่เกรงอำานาจเงินของผู้ใด สิทธิความเสมอภาคย่อมบังเกิดขึ้นได้โดยสมบูรณ์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมุ่งมั่นพัฒนาแนวทางการดำารงชีวิตให้ประชาชน ทรงแนะนำาแนวทาง
การปฏิบัติตนในทางที่ถูกที่ควร พระราชทานหลักการดำาเนินงาน ทั้งยังพระราชทานพระบรมราโชวาท
ซึ่งเป็นสิ่งที่มีคุณค่าอย่างยิ่งแก่ประชาชน ทั้งนี้เพราะทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงยึดมั่นใน
ทศพิธราชธรรมตลอดมาเมื่อได้ศึกษาทศพิธราชธรรมแต่ละข้อและนำามาพิจารณาเทียบกับ
พระราชกรณียกิจที่ทรงปฏิบัติก็จะเห็นชัดว่า มิได้ทรงปฏิบัติพระองค์ละเลยจากทศพิธราชธรรมเลย
แม้แต่ข้อเดียว ประชาชนชาวไทยขนานพระนามพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชว่า
ทรงเป็นพระบรมธรรมิกมหาราชา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงยึดมั่นในทศพิธราชธรรม ทศพิธราชธรรมที่ทรงบำาเพ็ญ
แต่ละข้อ สะท้อนให้เห็นว่ามิได้ทรงถือทศพิธราชธรรมเพื่อประโยชน์ของพระองค์เอง หากเป็นแนวทาง
ที่ทำาให้ดำารงพระองค์อยู่ในทางธรรม และด้วยนำ้าพระราชหฤทัยที่มีพระเมตตาต่อไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน
เสมอมา ทำาให้ทรงงานหนักอย่างไม่มีวันหยุดเพื่อหาวิถีทางที่จะสร้างความสุขให้แก่ราษฎร พระราช
กรณียกิจทุกประการ โครงการต่างๆ ทั้งที่เป็นโครงการส่วนพระองค์ โครงการในพระราชดำาริ และ
โครงการทดลองทั้งมวลล้วนมีความมุ่งหมายเพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนให้มีความสุข
เสมอภาคเท่าเทียมกันทั้งสิ้น พระองค์ทรงมุ่งมั่นที่จะบรรเทาปัญหาการขาดแคลนนำ้าซึ่งเป็นปัญหา
ของประชาชนส่วนใหญ่ที่มีอาชีพเป็นเกษตรกร ต้องมีนำ้าเป็นสิ่งสำาคัญ พระราชประสงค์ในการดำาเนินงาน
ส่วนใหญ่ของพระองค์จึงมุ่งสู่การพัฒนาแหล่งนำ้า การสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้แก่แผ่นดินไทย
ซึ่งเป็นการช่วยเหลือประชาชนผู้ด้อยโอกาส ผู้ยากจน ผู้มีกำาลังน้อย เพื่อให้สามารถยกฐานะขึ้นมา
เท่าเทียมกับผู้อื่น เมื่อทุกคนมีฐานะดีขึ้น มีความกินดีอยู่ดีขึ้น มีความสุขมากขึ้น ก็ย่อมไม่เบียดเบียน
ทำาร้ายล่วงละเมิดสิทธิของกันและกัน สังคมไทยย่อมเป็นสังคมแห่งความเสมอภาคที่มีความสุข
ทศพิธราชธรรม คือ ธรรมของผู้ปกครอง ทั้งผู้ที่ปกครองผู้คนและผู้ที่ปกครองบ้านเมือง
ทศพิธราชธรรมเป็นธรรมะของพระมหากษัตริย์ไทยที่ใช้เพื่อการปกครองประเทศมาแต่โบราณกาล และ
พระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ทรงยึดมั่นในทศพิธราชธรรมทั้ง ๑๐ ข้อ อันได้แก่ ทาน ศีล ปริจจาคะ
อาชวะ มัททวะ ตปะ อักโกธะ อวิหิงสา ขันติ และ อวิโรธนะ
132 พ ร ะ ม ห า ก ษั ต ริ ย์ กั บ ง า น สิ ท ธิ ม นุ ษ ย ช น