Page 131 - พระมหากษัตริย์กับงานสิทธิมนุษยชน
P. 131

ด้วยมีพระราชประสงค์ให้ผู้ด้อยโอกาสและผู้ยากจนทุกคนได้รับความช่วยเหลือจนทำาให้สามารถ
               ดำารงชีวิตได้อย่างเป็นสุขตามอัตภาพ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระองค์เป็นหลักการสำาคัญ

               ที่จะช่วยให้ประชาชนชาวไทยมีโอกาสพัฒนาตนเองให้มีความเป็นอยู่ที่ดี มีอิสระ ไม่ต้องพึ่งพาผู้ใด
               ไม่ต้องเป็นหนี้ใคร ทำาให้สามารถสร้างตนเองให้มีหลักฐานมั่นคง และสามารถสร้างความเป็น
               ปึกแผ่นให้สังคมไทยได้ในที่สุด นับตั้งแต่มีการเลิกทาสมาจนถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็น

               ระบอบประชาธิปไตย  ได้มีความพยายามที่จะทำาให้ประชาชนมีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน
               มีการแก้กฎหมายมีการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมทางภาษา ประเพณี และสิ่งอื่นๆ แต่สิ่งที่ขัดขวาง

               ความเสมอภาคของคนเรานั้นคือฐานะทางเศรษฐกิจ ประชาชนในชนบทไม่เท่าเทียมกับคนในกรุง
               คนจนถูกเอารัดเอาเปรียบ การจะทำาให้ทุกคนในสังคมเท่าเทียมกันได้จึงต้องแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจ


                      พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงเล็งเห็นว่า ความเหลื่อมลำ้าทางเศรษฐกิจ
               เป็นปัญหาสำาคัญที่ทำาให้ประชาชนพสกนิกรส่วนหนึ่งมีความทุกข์ยากต้องอยู่อย่างลำาบากเพราะความ
               ยากจน จึงได้ทรงตั้งพระราชปณิธานที่จะต่อสู้กับความยากจน ทรงพยายามหาทางให้ความยากจน

               หมดไปจากผืนดินไทย แต่ประชาชนคนไทยที่เป็นพสกนิกรของพระองค์นั้นมิได้นับเฉพาะคนไทยที่มี
               เชื้อชาติไทยเท่านั้น หากทรงห่วงใยคนไทยทั่วทั้งประเทศ ทั้งชาวเมือง ชาวชนบท ชาวเขา กลุ่มชนชาติ

               พันธุ์ต่างๆ ตลอดจนชาวต่างประเทศที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ทรงพระเมตตาที่จะให้ทุกคนมีสิทธิ


                                                  พ ร ะ ม ห า ก ษั ต ริ ย์ กั บ ง า น สิ ท ธิ ม นุ ษ ย ช น  131
   126   127   128   129   130   131   132   133   134   135   136