Page 127 - พระมหากษัตริย์กับงานสิทธิมนุษยชน
P. 127

พระมหากรุณาจากทศพิธราชธรรม











                 ประเทศไทยปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา

               สมัยธนบุรีและสมัยรัตนโกสินทร์  จนถึงพุทธศักราช  ๒๔๗๕  จึงได้เปลี่ยนระบอบการปกครอง
               เป็นประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตลอดระยะเวลาอันยาวนานกว่า ๗๐๐ ปี
               แห่งประวัติศาสตร์ของชนชาติไทยนั้น พระมหากษัตริย์ทรงใช้พระราชอำานาจด้วยทศพิธราชธรรม

               ปกครองไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินอาณาประชาราษฎร์ให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุข ไม่เคยปรากฏว่ามีพระมหากษัตริย์
               ของไทยพระองค์ใดทรงกดขี่ ข่มเหง เบียดเบียนราษฎร ละเมิดสิทธิความเป็นมนุษย์ปุถุชนของราษฎร

               ประชาชนชาวไทยมีสิทธิที่จะมีชีวิตอย่างอิสระ มีสิทธิที่จะพูด ทำาการค้าขาย ประกอบอาชีพ หรือ
               เดินทางไปยังส่วนใดของประเทศก็ได้จนมีคำากล่าวว่า “พูดได้ตามใจคือไทยแท้” หรือ “ทำาได้ตามใจ
               คือไทยแท้”  ประชาชนชาวไทยมีอิสระในการดำารงชีวิต “ใครใคร่ค้าช้าง ค้า ใครใคร่ค้าม้า ค้า ใครใคร่

               ค้าเงินค้าทอง ค้า” เป็นคำากล่าวที่ปรากฏในศิลาจารึกมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ประชาชนชาวไทยสามารถ
               เลือกนับถือศาสนาได้ตามที่ตนปรารถนา ข้อจำากัดที่จะห้ามมิให้ผู้ใดกระทำาสิ่งใดๆ ก็จะเป็นไปตาม

               ความเชื่อ หรือตามวัฒนธรรมซึ่งมีเหตุผล เพื่อความปลอดภัยของผู้กระทำานั้นเอง พระราชอาญา
               ที่ได้กำาหนดไว้ล้วนเป็นไปเพื่อความสงบสุขของราษฎรเพื่อไม่ให้ราษฎรเบียดเบียนกัน เอารัดเอาเปรียบกัน
               การมีไพร่มีทาส  มีเจ้าเงินนายเงินซึ่งเป็นไปตามลักษณะของสังคมในสมัยนั้น  ก็มิได้ปรากฏว่า

               พระมหากษัตริย์จะทรงอนุญาตให้มีการกักขัง คุกคาม ก้าวล่วงสิทธิของความเป็นมนุษย์หากทาส
               ไม่ได้ทำาผิดกฎเกณฑ์ที่วางไว้ การลงโทษตามที่ปรากฏอยู่ในกฎมณเฑียรบาลหรือตามกฎหมาย

               บางข้ออาจจะเหมือนรุนแรง ก็เพื่อป้องปรามมิให้มีการกระทำาผิด กระทำาชั่ว “กฎหมายมีไว้สำาหรับ
               ความสงบสุขในบ้านเมือง มิใช่มีไว้สำาหรับข่มเหงประชาชน” พระมหากษัตริย์ของไทยจึงได้รับ
               การยกย่องบูชาเทิดทูนว่าเป็นผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐตลอดมาทุกยุคทุกสมัย


                                                  พ ร ะ ม ห า ก ษั ต ริ ย์ กั บ ง า น สิ ท ธิ ม นุ ษ ย ช น  127
   122   123   124   125   126   127   128   129   130   131   132