Page 152 - การรวบรวมและวิเคราะห์เปรียบเทียบ รายงานตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนของคณะอนุกรรมการสิทธิในทรัพยากรน้ำ ชายฝั่ง แร่ และสิ่งแวดล้อม ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (พ.ศ. 2545 - 2550) : (รายงานหลัก)
P. 152
6.1.3 กรณีทะเลและชายฝั่ง: เขื่อนกันคลื่น
ั่
1) การก่อสร้างเขื่อนหรือก าแพงกันคลื่นทุกขนาดและทุกประเภท ทั้งประเภทที่ขนานกับชายฝง และ
ที่ยื่นออกไปในทะเล จะต้องมีการจัดท ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)
2) ในระหว่างการจัดท ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) จะต้องมีกระบวนการจัดท า
ั
เอกสารเผยแพร่ที่มีเนื้อหาทั้งด้านดีและผลกระทบอย่างครบถ้วน และมีการประชุมรับฟงความคิดเห็นของประชาชนผู้
ได้รับผลกระทบโดยตรงเป็นระยะๆ เพื่อให้ประชาชนผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงทุกรายได้ร่วมพิจารณาและร่วม
ตัดสินใจอย่างโปร่งใส และหลังจากจัดท ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเสร็จสิ้นควรมีกระบวนการ
เช่นเดียวกัน
3) ในการอนุญาตให้มีการก่อสร้างเขื่อนหรือก าแพงกันคลื่นทุกขนาดและทุกประเภท ทั้งประเภทที่
ั่
ขนานกับชายฝง และที่ยื่นออกไปในทะเล ควรก าหนดให้มีการวางเงินประกันความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน
ตามจ านวนเงินที่เหมาะสม ก่อนได้รับอนุญาต
6.1.4 กรณีทะเลและชายฝั่ง: ท่าจอดเรือยอร์ช
1) พื้นที่ก่อสร้างท่าจอดเรือยอร์ชเป็นพื้นที่สาธารณประโยชน์ และเป็นพื้นที่ที่ชาวประมงพื้นบ้านใช้
ประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งผู้ใช้ประโยชน์ควรมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เนื่องจากการอนุญาตให้ใช้พื้นที่สาธารณประโยชน์
ในทะเลที่ประชาชนใช้ร่วมกัน แก่เอกชนรายใดรายหนึ่ง เป็นการกระทบกระเทือนถึงสิทธิในการท ามาหากินของ
ประมงพื้นบ้าน ท าให้ประชาชนถูกลิดรอนสิทธิจากวิถีทางแห่งการยังชีพของตน และเมื่อเทียบเคียงกับกรณีการขอ
ใช้ที่ดินสาธารณประโยชน์ ตามประมวลกฎหมาย ที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 8 และมาตรา 9 ที่มีการบัญญัติขั้นตอน
การขอใช้ประโยชน์ตามกฎหมายแล้ว จึงเห็นว่า การขอใช้ที่สาธารณะในทะเลควรมีเงื่อนไขขั้นตอนอย่างน้อยที่สุด
ต้องที่เสมอกัน และต้องมีกระบวนการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชน
2) กรณีท่าจอดเรือยอร์ชในลักษณะเรือส าราญกีฬา จะมีการออกแบบให้ใช้พื้นที่ทะเลในขนาดกว้าง
ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่นเดียวกับท่าเทียบเรือซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า จึงเห็นควรให้มี
การจัดท ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) โดยค านึงถึงองค์ประกอบอื่น เช่น จ านวนเรือ ขนาดของ
ท่าจอดเรือ การขุดลอกร่องน ้า เป็นต้น
6.1.5 กรณีทะเลและชายฝั่ง: ประมงพื้นบ้าน
1) รัฐบาลต้องด าเนินการบังคับใช้กฎหมายอย่างเด็ดขาดและจริงจัง ต่อกรณีการไม่ปฏิบัติการตาม
กฎหมายเกี่ยวกับการท าประมงที่มีอยู่เดิม ต่อกรณีการท าประมงในเขตหวงห้าม โดยให้มีการตั้งตัวแทนของชาวบ้าน
เป็นผู้ช่วยเจ้าพนักงานในการรักษากฎหมาย อันเป็นการมีส่วนร่วมของชุมชน
ั่
2) ประกาศพื้นที่น าร่องที่ห้าม เรืออวนลาก อวนรุน เรือปนไฟปลากะตัก เรือคราดหอย และอุปกรณ์
ั
ประมงที่ท าลายล้างอื่น เข้าในพื้นที่ทะเลของจังหวัดปตตานี และจังหวัดนราธิวาส
ั่
3) ประกาศพื้นที่อื่นเพื่อห้าม เรืออวนรุน เรืออวนลาก เรือปนไฟปลากะตัก เรือคราดหอย และ
อุปกรณ์ประมงที่ท าลายล้างอื่น เข้าในพื้นที่ทะเลของจังหวัดที่ได้รับผลกระทบสูง
4) ให้รัฐศึกษาและหาแนวทาง ในการออกกฎหมายที่ก าหนดให้การมีเรืออวนรุน เรืออวนลาก เรือ
ั่
ปนไฟปลากะตัก เรือคราดหอย และอุปกรณ์ประมงที่ท าลายล้างอื่นอยู่ในครอบครอง เป็นความผิดทางอาญา
5) ให้รัฐรับรองสิทธิของประมงพื้นบ้าน ในการจอดเรือริมทะเลหรือริมคลองที่ต่อเนื่องกับทะเล เพื่อ
ความสะดวกในการดูแลเรือ อุปกรณ์ และด ารงวิถีชีวิตของประมงพื้นบ้านอย่างยั่งยืน
6) ให้รัฐรับรองสิทธิในการที่จะได้สัญชาติของชาวเล กลุ่มอูรักลาโว้ย มอแกน และมอแกลน ซึ่งเป็น
กลุ่มชาวประมงพื้นบ้านดั้งเดิม เพื่อความมั่นคงในการด ารงชีวิตโดยปกติสุข
136