Page 28 - คู่มือการทำความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
P. 28
26 คู่มือ การทำาความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
๑๔. กรอบแนวคิดเรื่องสิทธิมนุษยชน คืออะไร
กรอบแนวคิดสิทธิมนุษยชนคือ กรอบในการวิเคราะห์ ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานหลักการดังต่อไปนี้
v ปัจเจกบุคคล เป็นผู้ทรงสิทธิ
v ในทางกลับกันรัฐมีพันธกรณี ต้องเคารพ คุ้มครอง ส่งเสริมให้สิทธิเป็นจริง
v เนื้อหาของสิทธิและพันธกรณีระบุไว้ใน รัฐธรรมนูญ กฎหมายภายในประเทศกฎ ข้อบัญญัติ
คำาพิพากษาของศาล นโยบายชองชาติ และสนธิสัญญาและข้อตกลงรระดับนานาชาติ และ
ระดับภูมิภาค
v การละเมิดสิทธิเกิดขึ้นเมื่อรัฐล้มเหลวในการปฏิบัติตามพันธกรณีต่างๆ เหล่านั้น
กรอบแนวคิดดังกล่าวช่วยให้ประเมินได้ว่า เรื่องที่เกิดขึ้นขัดต่อหลักการสิทธิมนุษยชนและ
พันธกรณีของรัฐหรือไม่ และสามารถช่วยให้ระบุถึงการละเมิดต่างๆ ได้ เพื่อกำาหนดแนวทางปฏิบัติ
อย่างเหมาะสม และสามารถแก้ไขเยียวยาได้
๑๕. อะไรคือวิถีสิทธิมนุษยชน/แนวท�งปฏิบัติบนฐ�นสิทธิมนุษยชน
(human rights based approach)
วิถีสิทธิมนุษยชน/แนวทางปฏิบัติบนฐานสิทธิมนุษยชนเป็นการใช้หลักสิทธิมนุษยชนที่รับ
ประกันไว้ตามกฎหมายทั้งระดับชาติ และระหว่างประเทศ เพื่อให้รัฐต้องรับผิดชอบในการปฏิบัติตาม
หรือการละเว้นการปฏิบัติ
วิถีสิทธิมนุษยชน/แนวทางปฏิบัติบนฐานสิทธิมนุษยชนตั้งอยู่บนพื้นฐานที่สำาคัญ คือ บุคคล
ทุกคนเป็นผู้ถือทรงสิทธิบนพื้นฐานของความเท่าเทียมกันและไม่เลือกปฏิบัติ รัฐมีหน้าที่หรือพันธกรณี
ในการที่จะดำาเนินการที่เหมาะสมในการทำาให้บุคคลสามารถใช้สิทธิเหล่านั้นได้ ในกรณีที่รัฐล้มเหลว
หรือบกพร่องในการปฏิบัติตามหน้าที่หรือพันธกรณีต่างๆ ผู้ได้รับผลกระทบ (หรือผู้แทนบุคคล)
สามารถร้องต่อศาลหรือกลไกอื่นๆ ที่มีขึ้นภายใต้กฎหมายบัญญัติเพื่อให้มีการดำาเนินการแก้ไขเยียวยา
อย่างเหมาะสม
หัวใจสำาคัญของวิถีสิทธิมนุษยชน/แนวทางปฏิบัติบนฐานสิทธิมนุษยชนนั้น คือ ประชาชนและ
สิทธิของประชาชนในการมีส่วนร่วม บุคคลทุกคนล้วนมีสิทธิในการมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจ
สาธารณะ และเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องหากว่า การตัดสินใจนั้นๆ จะส่งผลกระทบต่อชีวิตและ
คุณภาพชีวิตของเขา หลักการการมีส่วนร่วมนั้นเป็นการทำาให้แน่ใจว่าชุมชนและกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบ