Page 24 - คู่มือการทำความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
P. 24

22 คู่มือ การทำาความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง





                    ๑๐.      สิทธิมนุษยชนเป็นสิทธิอันสัมบูรณ์หรือไม่






                         สิทธิมนุษยชนโดยทั่วไปไม่ได้มีลักษณะเป็นสิทธิอันสัมบูรณ์ (Absolute Rights) แต่สามารถ
                  จำากัดการใช้สิทธิได้ เพื่อประโยชน์ต่อสังคมประชาธิปไตย ความมั่นคงของชาติ ความสงบเรียบร้อย

                  ความปลอดภัยสาธารณะ สุขภาพอนามัยสาธารณะ หลักศีลธรรม และสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น ข้อจำากัด
                  เช่นนี้ต้องเป็นโดยกฎหมาย และต้องเป็นไปโดยไม่ขัดกับหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ

                  หลักการนี้ ได้ปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๙
                  วรรคแรก กล่าวว่า การจำากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้จะกระทำามิได้ เว้นแต่

                  โดยอาศัยอำานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อการที่รัฐธรรนูญนี้กำาหนดไว้และเท่าที่จำาเป็น
                  และจะกระทบกระเทือนสาระสำาคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพนั้นมิได้

                         อย่างไรก็ตาม ยังมีสิทธิบางสิทธิที่ถือว่ามีลักษณะเป็นสิทธิอันสัมบูรณ์ ที่ไม่อาจถูกจำากัดได้

                  สิทธิที่อันสัมบูรณ์เหล่านี้ คือ สิทธิที่ทุกคนต้องได้รับการยอมรับว่าเป็นบุคคลเสมอหน้ากันตาม
                  กฎหมาย และสิทธิในการไม่ถูกซ้อมทรมาน หรือถูกกระทำา หรือถูกลงโทษอย่างโหดร้าย ไร้มนุษยธรรม
                  หรือย่ำายีศักดิ์ศรี สิทธิที่จะไม่ถูกบังคับให้เป็นทาส หรือเยี่ยงทาส สิทธิที่จะไม่ถูกประหารนอก

                  กระบวนการยุติธรรม สิทธิที่จะไม่ถูกบังคับให้สูญหาย และสิทธิที่จะไม่ถูกเลือกปฏิบัติอันเนื่องมาจาก

                  เหตุทางเชื้อชาติ  สิทธิที่จะไม่ถูกจำาคุกเนื่องจากไม่สามารถชำาระหนี้ได้  สิทธิที่จะไม่ถูกดำาเนินคดีอาญา
                  หรือลงโทษจากกฎหมายย้อนหลัง และสิทธิในเสรีภาพทางความคิด ความเชื่อ การนับถือศาสนา และ
                  การแสดงออกทางศาสนาและความเชื่อ เป็นต้น

                         อย่างไรก็ตาม สิทธิมนุษยชนบางประการมีลักษณะสัมบูรณ์ตามข้อ ๔ ของกติการะหว่าง

                  ประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง รัฐไม่สามารถระงับการใช้สิทธิบางประการใน
                  ระหว่างการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินได้ โดยถือเป็นสิทธิที่ไม่อาจลิดรอนได้ ประกอบด้วย

                         v สิทธิที่จะได้รับความเท่าเทียมและการไม่เลือกปฏิบัติ

                         v สิทธิที่จะมีชีวิตรอด
                         v ห้ามการทรมานหรือการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม

                            หรือที่ย่ำายีศักดิ์ศรี
                         v ห้ามไม่ให้กำาหนดกฎหมายเพื่อลงโทษย้อนหลัง

                         v สิทธิที่จะได้รับการยอมรับในฐานะบุคคลเบื้องหน้ากฎหมาย
                         v สิทธิที่จะมีเสรีภาพด้านความคิด มโนธรรมสำานึกและศาสนา

                         v สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม ทั้งนี้เพื่อคุ้มครองการเข้าถึง
                         v สิทธิที่ไม่อาจลิดรอนได้แม้ในช่วงที่รัฐประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29