Page 182 - คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจตามหลักสิทธิมนุษยชน
P. 182
คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำารวจตามหลักสิทธิมนุษยชน
(๘) การสอบสวนนั้นตามปกติผู้มีอำานาจทางการ
สอบสวน ซึ่งเรียกว่าพนักงานสอบสวนนั้น จะต้องเป็นผู้ทำาด้วยตนเอง
เว้นแต่กรณีบางอย่างเกี่ยวแก่สำานวน โดยไม่ต้องสอบสวนถ้อยคำา
แล้วจะให้ผู้อื่นทำาแทนในข้อกำาหนดดังต่อไปนี้ก็ได้ คือ
(๘.๑) การใดอยู่นอกเขตอำานาจ ส่งประเด็น
ไปให้พนักงานสอบสวน ซึ่งมีอำานาจทำาการนั้นจัดการได้
(๘.๒) การใดเป็นสิ่งเล็กน้อย เช่น เขียนคดีที่อยู่
ในอำานาจเปรียบเทียบได้ เขียนรูปพรรณต่างๆ เขียนรายงานชันสูตรบาดแผล
หรือศพไปให้แพทย์ตรวจ เป็นต้น อยู่ในหน้าที่ของพนักงานสอบสวนจะต้อง
ลงนาม เป็นต้น
(๙) การสอบสวนนั้น ให้เริ่มกระทำาการโดยมิชักช้า
จะทำาที่ใด เวลาใด แล้วแต่จะเห็นสมควรและไม่ต้องทำาการสอบสวนต่อหน้า
ผู้ต้องหา
ให้พนักงานสอบสวนสืบหาหลักฐานอันเกี่ยวแก่คดี
ทุกชนิดให้เต็มความสามารถ เพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์
ต่างๆ อันเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหากัน เพื่อที่จะรู้ตัวผู้กระทำาผิด
และพิสูจน์ให้เห็นความผิด
๓.๒๖ การรักษาความสงบเรียบร้อยแก่ชุมชน
๓.๒๖.๑ หลักการ
เจ้าหน้าที่ตำารวจจะต้องเทิดทูนและพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันชาติ
ศาสนา พระมหากษัตริย์และประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์
ทรงเป็นประมุข นอกจากนั้นเจ้าหน้าที่ตำารวจจะต้องดำาเนินการป้องกัน
158