Page 181 - คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจตามหลักสิทธิมนุษยชน
P. 181
สำ�นักง�นคณะกรรมก�รสิทธิมนุษยชนแห่งช�ติ
ข้อความที่เกี่ยวกับประเด็นหรือเหตุแวดล้อมกรณี
มีอย่างไรบ้าง ก็ควรถามจดไปให้ครบถ้วนเพื่อประกอบการพิจารณา
เหตุนั้นๆ
(๔) พนักงานสอบสวนต้องยำ้าความรู้เห็นของพยาน
และเจ้าทุกข์ให้นำาข้อความรู้จริงมากล่าว พยายามอย่าให้พยานเอาความ
เข้าใจของตนหรือเพียงแต่ได้ยินได้ฟังมาเป็นความรู้เห็นเสียเอง ซึ่งอาจทำาให้
การสอบสวนผิดข้อเท็จจริงไปโดยไม่ตั้งใจ
(๕) ต้องจดตรงกับที่พยานให้ถ้อยคำา คำาใดไม่เข้าใจ
ให้หมายเหตุในวงเล็บเป็นความเข้าใจของพนักงานสอบสวนไว้ต่อท้าย
ถ้อยคำาตามประเพณีนิยมในท้องถิ่นของพยานนั้นๆ ไม่ควรฝืนใจให้ผู้ให้
ถ้อยคำาให้การผิดแผกจากธรรมเนียมประเพณีแห่งท้องถิ่น เพราะการฝืน
อาจทำาให้ผู้ให้การงงงวยไม่เข้าใจแจ่มแจ้ง
(๖) พนักงานสอบสวนพึงระมัดระวังเรื่องเวลา
ให้ดีด้วย เพราะบางท้องที่และบางฤดูนั้น เวลานาฬิกาถึง ๑๙.๐๐ น.
(๑ ทุ่ม) แล้ว แต่แสงสว่างยังเห็นได้ชัดเจนเพราะเกี่ยวแก่ฤดูหรือเพราะ
ไม่มีสิ่งกำาบังหรือเพราะแสงดวงดาวในท้องฟ้า เป็นต้น
(๗) การสอบสวนให้ใช้ภาษาไทย ถ้ามีการจำาเป็น
ต้องแปลภาษาไทยเป็นภาษาต่างประเทศ หรือภาษาต่างประเทศเป็น
ภาษาไทย ก็ให้ล่ามแปล และในบันทึกคำาให้การนั้นต้องปรากฏว่าได้ให้ล่าม
แปลไว้ด้วย
เมื่อมีล่ามแปลคำาให้การ คำาพยานหรือคำาอื่นๆ
ล่ามต้องแปลให้ถูกต้อง ผู้สอบสวนต้องให้ล่ามสาบานหรือปฏิญาณตนว่า
จะทำาหน้าที่โดยสุจริต จะไม่เพิ่มเติมหรือตัดทอนสิ่งที่แปล เมื่อแปลเสร็จแล้ว
ให้ล่ามลงลายมือชื่อในถ้อยคำาหรือเอกสารนั้น
157