Page 163 - คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจตามหลักสิทธิมนุษยชน
P. 163
สำ�นักง�นคณะกรรมก�รสิทธิมนุษยชนแห่งช�ติ
นายอำาเภอ ปลัดอำาเภอ ก็มีอำานาจหน้าที่ในการจับกุมได้เช่นกัน เจ้าหน้าที่
ศุลกากร เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายศุลกากร มีอำานาจหน้าที่
ในการจับกุมความผิดเกี่ยวกับการขนสินค้าหนีภาษี เจ้าหน้าที่สรรพสามิต
เป็นเจ้าพนักงาน ตามกฎหมายสรรพสามิต มีอำานาจหน้าที่จับกุมความผิด
เกี่ยวกับสรรพสามิต เป็นต้น
สำาหรับประชาชนหรือที่เรียกว่าราษฎรธรรมดานั้น
โดยปกติไม่มีอำานาจหน้าที่ในการจับกุมผู้ใดได้ เพราะเป็นประชาชน
ธรรมดาไม่ได้เป็นเจ้าพนักงานที่กฎหมายบัญญัติให้อำานาจไว้ อย่างไร
ก็ดีกฎหมายไม่ได้ห้ามเด็ดขาดว่า มิให้ประชาชนธรรมดาจับกุมผู้กระทำาผิด
บทบัญญัติที่เป็นข้อยกเว้นไว้ให้ประชาชนธรรมดามีอำานาจจับกุม
ผู้กระทำาผิดได้เฉพาะบางกรณีดังต่อไปนี้เท่านั้น
(๑) เมื่อเจ้าพนักงานขอร้องให้ช่วยจับ กรณีนี้จะต้อง
เป็นเรื่องที่กฎหมายจับอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นความผิดฐานใดก็ตาม
และเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่จัดการตามกฎหมายหรือจับตามหมายจับนั้น
ได้ขอร้องให้ประชาชนธรรมดาช่วยจับกุมผู้กระทำาผิดตามที่กฎหมายระบุไว้
ข้อนี้ต้องพึงระวังให้ดีว่าถ้าเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานจะจับกุมโดยไม่มีหมายจับ
แม้เจ้าพนักงานจะขอร้องให้ประชาชนธรรมดาช่วยจับ ประชาชนธรรมดา
ก็ไม่มีอำานาจในการจับกุม มีข้อสังเกตว่าคำาร้องขอของเจ้าพนักงานเช่นนี้
ไม่ถือว่าเป็นคำาสั่งของเจ้าพนักงาน ดังนั้น ประชาชนที่ได้รับการร้องขอ
จะปฏิบัติตามคำาร้องขอนั้นหรือไม่ก็ได้
(๒) เมื่อพบการกระทำาผิดซึ่งหน้าเฉพาะความผิด
ประเภทที่กฎหมายระบุไว้ กรณีนี้ประชาชนผู้พบการกระทำาผิดนั้นสามารถ
ทำาการจับกุมได้ทันทีโดยไม่ต้องรอเจ้าพนักงานร้องขอ อย่างไรก็ดีอำานาจ
ในการจับกุมของประชาชนธรรมดาตาม (๒) นี้ ค่อนข้างจะมีขอบเขตจำากัด
อยู่เฉพาะแต่ความผิดประเภทที่ระบุไว้ในบัญชีท้าย ป.วิ.อ. เท่านั้น และต้อง
139