Page 157 - คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจตามหลักสิทธิมนุษยชน
P. 157
สำ�นักง�นคณะกรรมก�รสิทธิมนุษยชนแห่งช�ติ
รองรับการปฏิบัติงาน การเตรียมพร้อม การฝึก ขวัญกำาลังใจและความ
เชื่อมั่นของกำาลังพล ความพร้อมในด้านยุทโธปกรณ์ยังขาดรูปแบบที่มี
มาตรฐาน ทำาให้การเข้าแก้ไขสถานการณ์ มักจะใช้ประสบการณ์เข้า
ดำาเนินการ ขาดทฤษฎีและองค์ความรู้ ส่งผลกระทบต่อการยอมรับ
ของสังคมและประชาชน และท้ายที่สุด เจ้าหน้าที่ตำารวจและฝ่ายปกครอง
ควรต้องทบทวนบทบาทหน้าที่ของตนให้ถูกต้องตามหลักกฎหมายและ
หลักสิทธิมนุษยชน
๓.๒๒.๑ แนวทางการบริหารเหตุการณ์
๓.๒๒.๑.๑ กรณีชุมนุมโดยสงบ
(๑) เมื่อเจ้าหน้าที่ตำารวจสถานีตำารวจภูธร/สถานี
ตำารวจนครบาล (สภ./สน.) ท้องที่เกิดเหตุ ได้รับแจ้งเหตุชุมนุมเรียกร้อง
ให้รีบเดินทางไปยังสถานที่ชุมนุมโดยเร็ว หาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับ
เหตุชุมนุม รายงานผู้บังคับบัญชา
(๒) เมื่อผู้บังคับบัญชาได้รับแจ้ง ให้รีบเดินทาง
ไปสถานที่ชุมนุมโดยเร็ว และแต่งตั้งผู้บัญชาการเหตุการณ์ (ผบ. เหตุการณ์)
(๓) ผบ. เหตุการณ์ สั่งการให้กำาลังเจ้าหน้าที่
ตำารวจ สภ./สน. ท้องที่เกิดเหตุปิดล้อมตามยุทธวิธีเพื่อให้อยู่ในขอบเขต
พร้อมจัดการจราจรโดยรอบ
(๔) เมื่อมีการใช้กำาลังในระดับกองบังคับการ
(บก.) ให้ประสานกับหน่วยข้างเคียงและหน่วยร่วมปฏิบัติเตรียมกำาลังร่วม
ปฏิบัติกรณีเกินขีดความสามารถในระดับ บก. แจ้งชุดผู้เชี่ยวชาญ กฎหมาย
และการสอบสวน เข้าปฏิบัติหน้าที่ ณ ศูนย์ปฏิบัติการ (ศปก.)
(๕) จัดกำาลังปฏิบัติการ
133