Page 154 - คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจตามหลักสิทธิมนุษยชน
P. 154
คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำารวจตามหลักสิทธิมนุษยชน
(๖) ในกรณีภาวะฉุกเฉิน จะต้องมีประกาศอย่างเป็น
ทางการก่อนจึงจะสามารถใช้มาตรการพิเศษได้ แต่ยังต้องเคารพในหลัก
สิทธิมนุษยชน
(๗) อาวุธปืนจะใช้ได้ต่อเมื่อตกอยู่ในสถานการณ์
คับขันสุดขีดเท่านั้น และต้องใช้เพื่อป้องกันตนเองหรือผู้อื่นเพื่อมิให้เสียชีวิต
หรือได้รับบาดเจ็บจากภัยคุกคามที่กำาลังจะมาถึง เพื่อการจับกุมหรือป้องกัน
การหลบหนีของบุคคลที่ก่ออาชญากรรมร้ายแรงเป็นพิเศษ ที่อาจนำาไปสู่ภัย
คุกคามร้ายแรงต่อชีวิต
(๘) ในเวลากลางคืนนั้น ไม่ควรใช้อาวุธปืนอย่างเด็ดขาด
เพราะจะทำาให้เกิดปัญหาการจำากัดขอบเขตความรุนแรง แต่อาจใช้อาวุธ
อย่างอื่นที่ไม่เป็นอันตรายต่อชีวิตหรือถึงตายได้
(๙) ขั้นตอนการใช้อาวุธปืน ต้องแสดงตัวให้ทราบว่า
เป็นเจ้าหน้าที่ตำารวจ แล้วออกคำาสั่งเตือนชัดเจนโดยต้องให้เวลาที่เพียงพอ
สำาหรับการปฏิบัติตามคำาสั่งเตือนได้ แต่ถ้าหากทำาตามขั้นตอนแล้วล่าช้า
อาจส่งผลให้เจ้าหน้าที่หรือบุคคลอื่นได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิตหรือได้รับ
บาดเจ็บสาหัสก็ไม่จำาเป็นต้องปฏิบัติตามขั้นตอนการใช้อาวุธปืนได้
(๑๐) หากมีการใช้อาวุธปืน ก็จะต้องระมัดระวังในการ
ใช้ให้ได้สัดส่วนระหว่างความรุนแรงของการกระทำาผิด กับวัตถุประสงค์
ของการใช้อาวุธที่ถูกต้องและชอบธรรมตามกฎหมาย
(๑๑) การใช้อาวุธปืนนั้น จะต้องใช้ให้เกิดการสูญเสีย
และบาดเจ็บน้อยที่สุด (Minimize Damage and Injury) และจะต้องเคารพ
และรักษาไว้ซึ่งชีวิตของเพื่อนมนุษย์
(๑๒) ภายหลังที่มีการใช้อาวุธปืนแล้วต้องรีบให้การ
ช่วยเหลือทางการแพทย์กับผู้ที่ได้รับบาดเจ็บแล้วแจ้งให้ญาติหรือผู้ที่ได้รับ
ผลกระทบจากเหตุดังกล่าวทราบ
130