Page 379 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 379

โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ :1111
                                                                    กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ | 321

               การเลือกปฏิบัติต่อผู้สูงอายุชาย จะเกิดในกรณีของการใช้บริการขนส่งสาธารณะ ได้แก่ รถเมล์ ที่ใช้ค าพูดที่ไม่

               สุภาพ และในการใช้บริการสาธารณะ โดยการแซงคิวเข้าพบแพทย์ การถูกโกงทางการเงิน (ถูกโกงหุ้น โกง
               ค่ารักษาพยาบาลเอกชน)
                     กรณีของผู้สูงอายุหญิง  ในกรณีจากบุคคลในครอบครัวและญาติ ประสบการณ์ของผู้สูงอายุหญิงใน
               การถูกเลือกปฏิบัติ จะเป็นการถูกท าร้ายร่างกาย ถูกทอดทิ้ง และการใช้ค าพูดท าร้ายจิตใจ โดยคู่สมรส แต่จาก
               เขย/สะใภ้ และญาติพี่น้อง จะเป็นการเลือกปฏิบัติโดยการใช้ค าพูดในการท าร้ายจิตใจ  ในกรณีของเพื่อนบ้าน

               และชุมชนที่อยู่อาศัย การเลือกปฏิบัติจะเป็นการใช้ค าพูดที่ไม่เหมาะสม หรือทัศนคติในทางลบ (เช่น การดูถูก
               เหยียดหยาม รังเกียจ) ในกรณีในที่ท างาน จะเป็นประสบการณ์ทางด้านการใช้ค าพูดที่ไม่เหมาะสม หรือไม่
               สุภาพ เช่นเดียวกับในกรณีของเจ้าหน้าที่รัฐ ส่วนใหญ่จะเป็นการใช้ค าพูดในระหว่างปฏิบัติงานที่ไม่เหมาะสม

               ไม่สุภาพ ตะคอก รวมทั้งการใช้ท่าทางที่ไม่สุภาพ แสดงท่าทีรังเกียจ และมีการเลือกปฏิบัติในการให้บริการโดย
               การแบ่งแยกคนรวย-คนจน ส าหรับในกรณีของการเลือกปฏิบัติจากบุคคลทั่วไป จะประสบการเลือกปฏิบัติใน
               การใช้บริการขนส่งสาธารณะ โดยเฉพาะรถเมล์ ที่กระเป๋ารถเมล์ใช้ค าพูดที่ไม่เหมาะสม ไม่สุภาพ หรือ
               การปฏิเสธไม่รับผู้โดยสาร


                     5.1.5 การเข้าถึงบริการต่างๆของผู้สูงอายุภายใต้สิทธิประโยชน์ที่ก าหนดใน พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ
                          พ.ศ. 2546


                     การเข้าถึงบริการต่าง ๆ ของผู้สูงอายุ เป็นประสบการณ์ในการเข้าใช้บริการ 8 ด้าน  ซึ่งเป็นสิทธิ
                                                                                  294
               ประโยชน์ที่ได้ก าหนดไว้ใน พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 หรือในอีกนัยหนึ่ง เป็นวิเคราะห์ถึงการเข้าใช้
               สิทธิประโยชน์ของผู้สูงอายุว่าเป็นอย่างไร มีปัญหาอุปสรรคอย่างไร บริการภายใต้สิทธิประโยชน์ดังกล่าว ใน
               การส ารวจนี้ได้แบ่งสิทธิประโยชน์ ออกเป็น 3 ประเภทเพื่อสอดคล้องกับแนวทางการวิเคราะห์ของการศึกษานี้

               คือ (1) สิทธิประโยชน์ด้านเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งประกอบไปด้วย การบริการด้านการจัดหางาน การบริการ
               ด้านการศึกษาหรือฝึกอบรม การบริการด้านการเงิน การบริการด้านการเดินทางขนส่ง และการบริการด้านการ
               เข้าร่วมกิจกรรมชมรม (2) สิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพและคุณภาพชีวิติ ประกอบไปด้วย การบริการด้าน
               สาธารณสุข (การป้องกัน การรักษา การฟื้นฟูบ าบัด) และการบริการด้านประชาสงเคราะห์ และ

               (3) สิทธิประโยชน์ด้านกระบวนการยุติธรรม ได้แก่ การบริการด้านกฎหมาย
                     ผลจากจากการส ารวจถึงประสบการณ์ในการเข้าถึงสิทธิประโยชน์ในการใช้บริการเหล่านี้ ได้แสดง
               รายละเอียดไว้ในตารางที่ 22
                     1) ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสิทธิประโยชน์ด้านเศรษฐกิจและสังคม พบว่า ในกรณีของบริการจัดหางาน

               นั้น ผู้สูงอายุโดยรวมส่วนใหญ่ ไม่เคยใช้บริการจากภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรไม่แสวงหาก าไร มีเพียง

                    294 สิทธิประโยชน์ภายใต้ พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 ประกอบไปด้วย 8 ด้าน ได้แก่ 1. บริการด้านสาธารณสุข
               (การป้องกัน การรักษา การฟื้นฟูบ าบัด) 2. บริการด้านการจัดหางาน 3. บริการด้านการศึกษาหรือฝึกอบรม 4. บริการด้าน
               การเงิน 5. บริการด้านการเดินทางขนส่ง 6. บริการด้านการเข้าร่วมกิจกรรมชมรม 7. บริการด้านกฎหมาย และ 8. บริการด้าน
               ประชาสงเคราะห์.
   374   375   376   377   378   379   380   381   382   383   384