Page 94 - รายงานสรุปผลการดำเนินโครงการฝึกอบรมหลักสูตรการคุ้มครองการละเมิดสิทธิชุมชน สิทธิในที่ดิน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม สำหรับเจ้าหน้าที่สำนักงาน กสม. ระหว่างวันที่ 19-23 สิงหาคม 2566 ณ โรงแรมกรุงศรีริเวอร์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
P. 94

แนวทางการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน






  3. แนวทางการแก้ไขความขัดแย้งเกี่ยวกับที่ดิน (ต่อ)




       3.1 การพิสูจน์สิทธิในที่ดินส าหรับผู้มีสิทธิในที่ดิน (ต่อ)


              (3) ก าหนดแนวทางพิจารณาการถือครองที่ดินโดยไม่ถือว่ากรณีต่อไปนี้ เป็นการละทิ้งไม่ท าประโยชน์ และให้ถือว่าบุคคลได้


  ครอบครองที่ดินนั้นต่อเนื่องกันมาโดยไม่ขาดสายจนถึงปัจจุบันโดยนับช่วงเวลาพักเข้าไปในช่วงระยะเวลาครอบครองท าประโยชน์นั้นด้วย ดังนี้


                   (3.1) ที่ดินของกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใช้ที่ดินตามฤดูกาลหรือใช้เฉพาะในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ และต้องมีช่วงเวลาพักการใช้ประโยชน์ เช่น

  ไร่หมุนเวียน บาฆัด เป็นต้น


                   (3.2) ที่ดินที่ไม่สามารถท าประโยชน์ได้เนื่องมาจากมีอุปสรรคภายนอก เช่น เหตุสุดวิสัย การถูกไล่รื้อไปก่อนการพิสูจน์ข้อเท็จจริง


  ปัญหาศัตรูพืช ปัญหาภัยธรรมชาติ การต้องถูกบังคับให้ออกจากที่ดินเนื่องจากภัยสงคราม เป็นต้น

              (4) ก าหนดมาตรการบังคับหลังการพิสูจน์สิทธิ โดยให้เพิกถอนที่ดินของรัฐเพื่อคุ้มครองสิทธิในที่ดินของประชาชน กรณีพิสูจน์ได้ว่า


  ประชาชนครอบครองท าประโยชน์มาก่อนเป็นที่ดินของรัฐแต่ไม่สามารถออกเอกสารสิทธิได้เนื่องจากที่ดินนั้นถูกประกาศเป็นที่สงวนหวงห้ามแล้ว


  ซึ่งจะต้องมีการยกเลิกหรือเพิกถอนเขตที่สงวนหวงห้ามนั้น ให้มีการแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายให้มีผลเป็นการยกเลิกหรือเพิกถอนเขตที่สงวน-


  หวงห้ามนั้น

               (5) การแก้ไขปัญหาแนวเขตที่ดินของรัฐทับซ้อนกันจาก One Map โดยควรมีมาตรการเยียวยาความเสียหายและให้ประชาชน


  ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด และกรณีมีปัญหาที่ดินของรัฐหลายประเภทหรือที่ดินที่อยู่ในความดูแลของหน่วยงานของรัฐหลายหน่วยงานมีแนวเขต


  ทับซ้อนกันให้เร่งรัดการชี้ขาดแนวเขตที่ดินของรัฐดังกล่าว                                                                                                                                    36
   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99