Page 29 - รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
P. 29

1.5 นโยบ�ยคณะกรรมก�รสิทธิมนุษยชนแห่งช�ติ ชุดที่ 4


                 ตามที่ กสม. ได้เริ่มปฏิบัติหน้าที่หลังจากมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งประธานและกรรมการสิทธิมนุษยชน

              แห่งชาติ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2564 นั้น กสม. ตระหนักถึงความท้าทายในการเข้ามาท�าหน้าที่ส่งเสริมและคุ้มครอง
              สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ในสภาวะที่เกิดวิกฤติการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
              ซึ่งมีผลกระทบกับชีวิตและสิทธิของผู้คนในทุกด้าน ไม่ว่าด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม ท�าให้ประชาชนบางกลุ่ม
              ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงอย่างไม่เคยมีมาก่อน รวมถึงความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของสังคม และ

              โลกปัจจุบันจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ผลกระทบของระบบนิเวศ และความซับซ้อนของปัญหาความเหลื่อมล�้า
              ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม


                 กสม. ตระหนักดีว่าสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องของทุกคนในสังคม ที่จะต้องร่วมมือกันในการส่งเสริม ป้องกันและแก้ไขปัญหา

              เพื่อน�าพาสังคมไทยไปสู่การเคารพในสิทธิมนุษยชน และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ด้วยความเชื่อมั่นและการมีส่วนร่วม
              เป็นส�าคัญ ขณะเดียวกันการท�างานของ กสม. จะต้องมีความโปร่งใส กล้าหาญ เที่ยงธรรม ปราศจากอคติ เป็นกลาง และ  บทน�ำ
              สร้างสรรค์เป็นที่พึ่งของประชาชนได้ กสม. จึงได้ก�าหนดแนวนโยบายพื้นฐานส�าหรับการด�าเนินงานของ กสม. ชุดที่ 4 ไว้ ดังนี้



                            มุ่งเน้นการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนด้วยความรวดเร็วและเป็นธรรม โดยการน�าเทคโนโลยีสารสนเทศ
                    1       มาสนับสนุนการปฏิบัติงานเพื่อให้ประชาชนได้รับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และการแก้ไขปัญหาอย่างทันท่วงที    บทที่

                            รวมทั้งการแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดจากปัญหาเชิงโครงสร้างอย่างเป็นระบบ โดยจะร่วมมือ   1
                            กับทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคมในการแก้ไขปรับปรุงนโยบาย ระเบียบ กฎหมาย
                            แนวทางการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญและกฎหมายระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคี



                    2       ส่งเสริมวัฒนธรรมการเคารพสิทธิมนุษยชน การเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การเคารพ
                            ความแตกต่างในความคิดเห็น ความเชื่อ เชื้อชาติ ศาสนา เพศ ภาษา หรือสถานะอื่นใด รวมทั้งการเคารพ
                            สิทธิและเสรีภาพภายใต้กรอบของกฎหมาย อันจะน�าไปสู่ความปรองดองในสังคม การไม่เลือกปฏิบัติ ไม่ใช้ถ้อยค�า
                            ที่แสดงถึงการดูถูก ดูหมิ่น หรือสร้างความเกลียดชัง หรือลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น เพื่อให้
                            ทุกคน ทุกกลุ่มในสังคม อยู่ร่วมกันได้โดยสันติ



                    3       สร้างและสนับสนุนกระบวนการความร่วมมือขององค์กรเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศ ให้มี
                            ความเข้มแข็งในการขับเคลื่อนงานด้านสิทธิมนุษยชน โดยร่วมกับทุกภาคส่วน ทั้งภาคประชาชน ประชาสังคม
                            ภาคเอกชน ภาครัฐ รวมถึงสถาบันวิชาการ สื่อมวลชน และคนรุ่นใหม่


                            สร้างความเชื่อมั่นต่อบทบาทของ กสม. ในระดับสากล โดยผลักดันให้มีการแก้ไขบทบัญญัติ
                    4       ของกฎหมายที่ยังอาจไม่สอดคล้องกับหลักการปารีส ในประเด็นหน้าที่และอ�านาจของ กสม. ทั้งนี้ เพื่อให้

                            กสม. มีศักยภาพเพิ่มมากขึ้นในบทบาทหน้าที่เพื่อความผาสุกของประชาชน ก่อให้เกิดความเชื่อมั่น
                            แก่ประชาชนและประชาคมระหว่างประเทศ จนส่งผลให้ กสม. ได้รับการปรับสถานะจากระดับ B กลับ
                            คืนสู่สถานะ A ซึ่งจะช่วยให้ กสม. ท�าหน้าที่เพื่อปกป้องและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนให้ประชาชนได้ดียิ่งขึ้น
                            และเป็นการเรียกคืน ศักดิ์ศรีของประเทศไทยในเวทีสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศด้วย


                    5       เร่งพัฒนาส�านักงาน กสม. ให้มุ่งสู่การเป็นองค์กรที่มีสมรรถนะสูง บนฐานคิดในการน�าระบบ
                            เทคโนโลยีดิจิทัล และการบริหารจัดการสารสนเทศระบบคลังข้อมูล (Big Data) มาใช้เป็นเครื่องมือในการ
                            บริหารจัดการและพัฒนาองค์ความรู้ขององค์กร (KM) รวมทั้งเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรและคุณภาพชีวิต
                            ของบุคลากรในองค์กรให้ดีและมีความสุขในการท�างาน
                                                                                                                27
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34