Page 98 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
P. 98

91


                       จากขั้นตอนการดำเนินงานในการยื่นคำร้องขอรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่นทั้ง 4 ขั้นได้แก่ 1)

               ระดับอำเภอ 2) ระดับจังหวัด 3) ระดับกรมการปกครองในฐานะเลขานุการของคณะกรรมการรับรองความเป็น

               คนไทยพลัดถิ่น และ 4) คณะกรรมการรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่น แม้ว่าแนวปฏิบัติของหน่วยงานรายการ

               ได้มีการกำหนดระยะเวลาเพื่อมิให้การคืนสัญชาติไทยแก่คนไทยพลัดถิ่นนั้นเกิดความล่าช้า แต่ในทางปฏิบัติใน
               กระบวนการขอคืนสัญชาติไทยของคนไทยพลัดถิ่นนั้น ยังคงสามารถขยายระยะเวลาได้หากมีเหตุจำเป็นหรือ

               ข้อบกพร่องเกี่ยวกับคำขอและพยานหลักฐานที่ใช้ในการยื่นคำขอพิสูจน์และรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่น

               อีกทั้งในทางปฏิบัติยังเปิดช่องทางให้นายอำเภอแต่งตั้งคณะกรรมการในระดับอำเภอขึ้น เพื่อช่วยกลั่นกรองคำ

               ขอด้วยก็ได้ ซึ่งแนวทางดังกล่าวถูกนำมาใช้ทั้งในระดับอำเภอและระดับจังหวัดตามสภาพปัญหาของแต่ละพื้นที่

               เนื่องจากไม่ได้มีบทกฎหมายใดบังคับให้ต้องมีคณะกรรมการดังกล่าวในทุกพื้นที่ อันทำให้การทำงานในรูปแบบ
               ของคณะกรรมการในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันตามความเหมาะสม

                       อย่างไรก็ดีการแต่งตั้งคณะกรรมการในระดับอำเภอนั้น ยังคงมีเสียงสะท้อนจากตัวแทนเครือข่ายคน

               ไทยพลัดถิ่นถึงปัญหาการขาดการมีส่วนร่วมของชาวบ้านในพื้นที่ของคนไทยพลัดถิ่น ซึ่งรู้จักประวัติความ

               เป็นมาของผู้ยื่นคำขอเป็นอย่างดี เนื่องจากคณะกรรมการในระดับอำเภอยังคงมีเพียง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน  หรือ

               บุคคลที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นชอบ ในขณะที่คณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองคำขอพิสูจน์รับรองความเป็น

                                       110
               คนไทยพลัดถิ่นระดับจังหวัด  ได้มีการแต่งตั้งให้คนไทยพลัดถิ่นที่ได้รับการคืนสัญชาติไทยไทยมีส่วนร่วมใน
               การกลั่นกรองข้อมูลผู้ยื่นคำขอว่าเป็นคนไทยพลัดถิ่นจริงหรือไม่ โดยมีผู้อาวุโสซึ่งรู้จักประวัติความเป็นมาของผู้

               ยื่นคำขอ ดำเนินการกลั่นกรองข้อมูลก่อนที่ทางจังหวัดจะดำเนินการพิจารณา ทั้งนี้แม้ว่าแนวทางปฏิบัติจะเปิด

               ช่องให้ภาคประชาชน รวมถึงคนไทยพลัดถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการกลั่นกรองข้อมูลบุคคลแอบแฝง ซึ่งไม่ใช่คน

               ไทยพลัดถิ่นโดยแท้จริงแล้วก็ตาม แต่กระบวนการดังกล่าวมีรูปแบบวิธีการดำเนินที่ยังไม่ชัดเจน เหมือนกับแนว

               ปฏิบัติของหน่วยงานภาครัฐ ทำให้ขาดความต่อเนื่องของการดำเนินการ และการดำเนินงานจะเป็นไปในทาง

                                                                       111
               รูปแบบจิตอาสาหรือการขอแรงมาช่วยตามกรณีปัญหาแต่และรายไป
                       รูปแบบที่สอง การยื่นคำขอพิสูจน์และรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่นกรณีไม่ปกติ

                       ในการยื่นคำขอพิสูจน์และรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่นกรณีไม่ปกติ เนื่องจากผู้ยื่นคำขอถูก
               จำหน่ายรายการทะเบียนราษฎรหรือขึ้นทะเบียนผิดกลุ่ม/ผิดหลง ทำให้คุณสมบัติในการใช้สิทธิเพื่อยื่นขอคืน

               สัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 ไม่ครบถ้วนตามกฎหมายเนื่องจากต้องเป็นผู้ซึ่ง

               มีเชื้อสายไทยเท่านั้น ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวกรมการปกครองได้มีหนังสือกระทรวงมหาดไทย และหนังสือ

               สำนักทะเบียนกลาง เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติโดยบุคคลที่ถูกจำหน่ายรายการทะเบียนราษฎร และ




               110  ชุมชนไทย, เครือข่ายการแก้ปัญหาคืนสัญชาติคนไทยเสนอเพิ่มชื่อเป็นกรรมการระดับจังหวัดเพื่อเกิดการมีส่วนร่วม

               ,เว็บไซต์ https://www.chumchonthai.or.th/node/384, สืบค้นวันที่ 26 มิถุนายน 2565
               111  สัมภาษณ์นายภควินท์ แสงคง, ตำบลเขาชัยสน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง, วันที่ 26 มิถุนายน 2565
   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102   103