Page 101 - รายงานผลการศึกษาข้อมูลนักโทษประหารชีวิต
P. 101
๒.๒ ข้อเสนอด้านการปรับปรุงกฎหมาย
การยกเลิกโทษประหารชีวิตเป็นเป้าหมายท้ายที่สุด ซึ่งอาจไม่สามารถดำาเนินการ
ได้ทันที ดังนั้น จึงควรดำาเนินการปรับปรุงกฎหมายตามลำาดับที่สามารถดำาเนินการ
ได้ก่อนเพื่อนำาไปสู่การยกเลิกโทษประหารชีวิตในที่สุด ดังนี้
๒.๒.๑ การพิจารณาไม่กำาหนดโทษประหารชีวิตในกฎหมายที่จะมีการ
ยกร่างใหม่
๒.๒.๒ การยกเลิกโทษประหารชีวิตในบางฐานความผิดที่ไม่ใช่คดีอุกฉกรรจ์
ดังเช่นที่ได้มีการดำาเนินการในการยกเลิกโทษประหารชีวิตตามพระราชบัญญัติ
ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๘
มาตรา ๑๒๓/๒ ซึ่งกำาหนดโทษจำาคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี หรือจำาคุกตลอดชีวิต
และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท หรือประหารชีวิต และต่อมาในปี
พ.ศ. ๒๕๖๑ ได้มีการตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและ
ปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๖๑ ซึ่งไม่มีการบัญญัติบทลงโทษประหารชีวิตไว้อีก
๒.๒.๓ การปรับอัตราโทษความผิดบางประเภทที่มีโทษประหารชีวิต
สถานเดียวเป็นโทษสูงสุดประหารชีวิต เพื่อให้ผู้พิพากษาสามารถใช้ดุลพินิจ
ในการกำาหนดบทลงโทษที่นอกเหนือจากการประหารชีวิตได้ เช่น กรณีการปรับอัตรา
โทษประหารชีวิตตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๖๕
ในการกำาหนดโทษประหารชีวิตสถานเดียวสำาหรับการกระทำาผิดฐานการผลิต นำาเข้า
หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๑ เพื่อจำาหน่าย เป็นโทษจำาคุกตลอดชีวิต
และปรับตั้งแต่หนึ่งล้านบาทถึงห้าล้านบาท หรือประหารชีวิต
๒.๒.๔ ยกเลิกโทษประหารชีวิตทั้งหมด
98 98 รายงานผลการศึกษาข้อมูลนักโทษประหารชีวิต รายงานผลการศึกษาข้อมูลนักโทษประหารชีวิต 99
รายงานผลการศึกษาข้อมูลนักโทษประหารชีวิต