Page 32 - งานเชิดชูเกียรติผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน วันสตรีสากล 2562
P. 32
แม่ผู้ต่อสู้เพื่อความยุติธรรม หลังจากกมนเกด อัคฮาค พยาบาลอาสา
เป็นหนึ่งในหกที่ถูกยิงเสียชีวิตในวัดปทุมวนารามราชวรวิหาร เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม
พ.ศ. 2553 จากเหตุการณ์การสลายการชุมนุม ทำาให้พะเยาว์ อัคฮาด ผู้เป็นแม่
ซึ่งมีอาชีพค้าขาย มีความเศร้าโศกเสียใจอย่างมาก กมนเกดเป็นลูกสาวคนเดียว
ของครอบครัว เป็นคนที่มีจิตอาสาและรักงานพยาบาลอย่างมาก ชอบช่วยเหลือ
ผู้อื่น หลังลูกสาวเสียชีวิตพะเยาว์มุ่งมั่นและทำาทุกวิถีทางเพื่อให้ได้ความยุติธรรม
โดยร่วมกับครอบครัวผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์เดียวกัน
จากผู้หญิงที่ทำาอาชีพค้าขายที่ไม่เคยสนใจการเมือง หลังจากเหตุการณ์
การสูญเสียครั้งนั้นเป็นจุดเริ่มต้นให้พะเยาว์สนใจสถานการณ์บ้านเมือง การเมือง
ค้นคว้าหาข้อมูล และเดินหน้าเพื่อเรียกร้องความยุติธรรมให้กับลูกสาว ทั้งการยื่น
หนังสือต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนายกรัฐมนตรี สำานักงานอัยการสูงสุด
รวมถึงกรมสอบสวนคดีพิเศษ โดยพะเยาว์และครอบครัวอัคฮาดไม่ได้เรียกร้อง
ความยุติธรรมให้กับกมนเกดคนเดียว แต่ได้ทำางานกับครอบครัวอื่น ๆ ที่สูญเสีย
อีกด้วย
แม้จะผ่านไปแล้วกว่า 8 ปี แต่เธอยังเห็นว่าผู้กระทำาความผิด ผู้มีส่วน
เกี่ยวข้องกับการสั่งสลายการชุมนุมจนทำาให้มีผู้เสียชีวิตจำานวนมากยังไม่ได้รับผิด
และยังไม่มีท่าทีที่จะแสดงความรับผิดชอบ หรือแม้แต่กล่าวคำาขอโทษ
คดีการเสียชีวิตของประชาชน 6 คน พนักงานอัยการ สำานักงานอัยการพิเศษ
ฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 4 ยื่นคำาร้องให้ศาลไต่สวนชันสูตรพลิกศพตามประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 150 กรณีผู้เสียชีวิต 6 ศพที่วัดปทุมวนาราม
ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ตามคดี
หมายเลขดำาที่ ช.5/2555 คดีหมายเลขแดงที่ ช.5/2556 โดยคดีนี้ศาลอาญา
กรุงเทพใต้ทำาการไต่สวน โดยเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2556 คำาพิพากษาศาล
อาญากรุงเทพใต้มีความเห็นว่าผู้เสียชีวิตทั้ง 6 คน เสียชีวิตเนื่องมาจากถูกยิง
ด้วยกระสุนปืนขนาด .223 หรือ 5.56 มิลลิเมตร ซึ่งวิถีกระสุนปืนยิงมาจาก
เจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยอยู่บนรางรถไฟฟ้าบีทีเอส
หน้าวัดปทุมวนารามราชวรวิหาร และบริเวณถนนพระรามที่ 1 ซึ่งเข้าควบคุมพื้นที่
31